Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Eva Peron

มาเรีย อีว่า ดูอาร์เต เดอ เปรอน (Maria Eva Duarte de Perón

เชื่อกันว่า อีวิต้า (Evita) เกิดในเมืองใดเมืองหนึ่งระหว่างจูนิน (Junin) หรือไม่ก็เมืองลอส โตลโดส (Los Toldos) สองเมืองอยู่ห่างกัน 60 กิโลเมตร แม้ว่าพ่อของอีวิต้าจะมีฟาร์มอยู่ในลอส โตลโดส แต่ฝ่ายที่เชื่อว่าเธอเกิดในจูนินเพราะว่าที่นั้นมีโรงพยาบาลที่ดีกว่า 
ปัจจุบันยอมรับกันว่าอีวิต้าเกิดในวันที่ 7 พฤษภาคม 1919 แม้ว่าจะมีสูติบัตรของเมืองจูนิน บอกว่าเธอเกิดในวันที่ 7 พฤษภาคม 1922  แต่เชื่อกันว่าเธอทำหลักฐานปลอมขึ้นมาภายหลัง
เป็นลูกสาวคนสุดท้องในพี่น้องห้าคน พ่อของเธอชื่อ จวน ดูอาร์เต (Juan Duarte) มีอาชีพทำฟาร์มปศุสัตว์ อยู่ในลอส โดลโดส   และแม่ชื่อจวนน่า (Juanna Ibarguren) เป็นแรงงานอยู่ในฟาร์มของจวน   , จวนน่าเป็นภรรยานอกกฏหมายของจวน ซึ่งแต่งงานมีครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเด็กที่เกิดกับพ่อแม่ที่ไม่ได้สมรสกันอย่างถูกต้องในอาร์เจนติน่ายุคนั้นเรียกว่าเด็กผิดกฏหมาย  (illegitimate children)  พี่ของอีวิต้า ชื่อ ไวต์ (White, 1908-2005) อีลิซ่า (Elisa,1920-1962) จวน (Juan Ramon, 1914-1953) เออร์มินด้า (Erminda Lujan, 1916-2012)
 พออีวิต้าอายุได้เพียงขวบเดียว พ่อของเธอก็ทิ้งจวนน่าและลูกๆ ห้าคนกลับไปอยู่กับภรรยาคนแรก ทำให้จวนน่าต้องทำงานเป็นช่างเย็บเสื้อผ้า เพื่อเลี้ยงดูลูกๆ ลำพัง
1926 8 มกราคม, พ่อของอีวิต้าเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ 
1927 เร่ิมเข้าโรงเรียน
1930  แม่พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่จูนิน ช่วงเวลานี้ครอบครัวเริ่มมีความเป็นอยู่ที่ดีแล้วเพราะว่าพี่ๆ ของอีวิต้าเริ่มทำงานกัน ที่เมืองนี้อีวิต้าเข้าเรียนเกรดสามที่โรงเรียน หมายเลข 1 (School No. 1 of Junin) และเรียนจบในปี 1934 เพื่อนและครูของเธอเล่าว่า เธอเป้นคนที่ชอบดนตรีและการร้องเพลง ชอบการแสดง ฉลาด แต่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ 
1934 ย้ายมาอยู่ในกรุงบูโนส์ ไอเรส (Buenos Aires)  , เธอมาตามความฝันของตัวเองที่อยากจะเป็นนักแสดง 
1935 28 พฤษภาคม ได้ร่วมแสดงละครเวทีเป็นครั้งแรก เรื่อง The Perezes Misses  ที่โรงละครคอมเมอร์ดี้ (Comedias Theater) เจ้าของโรงละครแห่งนี้ชื่ออีว่า ฟรานโก้ (Eva Franco) 
1937 ทำสัญญากับสถานีเบลกาโน่ (Radio Belgrano) เพื่อนำแสดงในละครวิทยุนานห้าปี ซึ่งเรื่องที่เอวิต้าแสดงส่วนใหญ่เป็นประวัติของสตรีสำคัญในอดีต  ในรายการ Great Women of All Time ซึ่งออกอากาศตอนกลางคืน ซึ่งเอวิต้าประสบความสำเร็จกับการแสดงในวิทยุ มากกว่ากว่าภาพยนต์สั้นที่เธอปรากฏตัวบนแผ่นฟิล์ม ซึ่งไม่มีเรื่องใดประสบความสำเร็จ 
1938 ได้รับการว่าจ้างจากบริษัท Candilejas ให้ไปแสดงเป็นตัวละครในวิทยุกับสถานี Radio El Mundo สถานีวิทยุแนวหน้าของประเทศในเวลานั้น โดยเรื่องที่เธอแสดงคือ Muy bien 
1944 22 มกราคม ได้พบกับนายพลจวน เปรอน (Colonel, Juan Peron) เป็นครั้งแรก ระหว่างที่เธอถูกเชิญไปงานกาล่าที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในซาน จวน (San Juan)  ตอนนั้นนายพลเปรอน ทำงานเป็นเลขานุการกระทรวงแรงงาน  เขาเป็นพ่อม่าย ที่ภรรยาคนแรกอูเรเลีย (Aurelia Tizon) เสียชีวิตในปี 1938 ด้วยโรคมะเร็ง 
กุมภาพันธ์, อีวิต้า ย้ายไปอยู่ร่วมในอพาร์ตเม้นท์เดียวกันกับนายพลเปรอน 
พฤษภาคม  มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน Association Radial Argentina โดยเอวิต้าได้รับเลือกเป็นประธาน 
ช่วยเปรอนอ่านสปอตของนโยบาย Towards a better future ผ่านสถานีวิทยุ
1945 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดี เปโดร รามิเรซ (Pedro Pablo Ramirez) ถูกกลุ่ม GOU (Grupo de Oficiales Unidos~ United Officer Group) ในรัฐบาลกดดันให้ลาออก และ อีเดลมีโร ฟาร์เรลล์ (Edelmiro Farrell) เพื่อนของนายพลเปรอนรับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน 
13 ตุลาคม , นายพลเปรอนถูกจับ โดยฝ่ายที่ต่อต้านเขานำโดยนายพลอวาลอส (Gen. Eduardo Avalos)   และถูกส่งตัวไปขังบนเกาะมาร์ตินการเซีย (Martin Garcia Island)
17 ตุลาคม, ประชาชนจำนวนสองถึงสี่แสนคนรวมตัวกันที่ Casa Rosada ในบูโนสไอเรส เรียกร้องให้ปล่อยตัวเปรอน  โดยกลุ่มนี้เรียกต้องเองว่าเป็น Shirtless people เอวิต้าปรากฏตัวที่ระเบียงของอาคารในตอนห้าทุ่ม และวันถัดมานายพลเปรอนก้ได้รับการปล่อยตัว  ตามภาพยนต์มักให้เครดิตอีวิต้าว่าเป็นคนขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของประชาชนในการออกมาเรียกร้องครั้งนี้ แต่ความจริงแล้วมวลชนถูกปลุกขึ้นมาโดยเคลื่อนข่ายของนายพลเปรอน ร่วมกับสหภาพการค้า (CGT, General Confederation of Labor of Argentina) 
22 ตุลาคม นายพลเปรอนและอีวิต้าแต่งงานกัน ในเมืองจูนิน และสองวันถัดมามีการจัดพิธีอีกครั้งในโบสถ์ซานฟรานซิสโก (Church of San Francisco) 
 หลังจากนั้นนายพลเปรอนตัดสินใจลงแข่งขันการเลือกตั้งประธานาธิบดี  
1946 24 กุมภาพันธ์, นายพลจวน เปรอน ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุน 54% ช่วงระหว่างที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนี้ที่ อีว่า เริ่มถูกรู้จักในชื่อ  อีวิต้า ซึ่งแปลว่า Little Eva 
 27 กุมภาพันธ์ อีวิต้ามีการกล่าวปราศรัยต่อผู้สนับสนุนเป็นครั้งแรก และมีการเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคของหญิงเท่่าเที่ยมกับชาย และเรียกร้องสิทธิในการลงคะแนนให้กับผู้หญิง
1947 9 กันยายน , รัฐสภาผ่านกฏหมาย Law 13,010 ให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อาเจนติน่า
Rainbow Tour อีวิต้า ออกเดินทางเยือนหลายประเทศในยุโรป โดยเร่ิมจากคำเชิญของนายพลฟรานโก้ (Francisco Franco) ผู้นำเผด็จการในสเปน , วาติกัน, โปตุเกส, ฝรั่งเศส, สวิสเซอร์แลนด์, บราซิล, อุรุกวัย  … ชื่อของเรนโบว์ทัวร์ นี้มาจากคำพูดของอีวิต้า ที่เธอบอกว่า “เธอไม่ได้ต้องการสร้างขั้ว แค่เป็นสายรุ้งระหว่างสองประเทศ / I didn’t come to form an axis, but only as a rainbow between our countries ” ซึ่งนิตยสารไทม์ เอาภาพอีวิต้าไปขึ้นปกแล้วเขียนว่า Between two wolrds , an Argentine rainbow
1948 8 กรกฏาคม, ก่อตั้งมูลนิธิอีว่า เปรอน (Eva Peron Foundation) ซึ่งทำหน้าที่บริจาคสิ่งของช่วยเหลือคนยากจนในรูปแบบต่างๆ ทั้งให้เสื้อผ้า ยารักษาโรค แต่ว่าที่มาที่ไปของเงินจากมูลนิธินี้กลับไม่มีการบันทึกบัญชีอย่างเป็นทางการเอาไว้ ซึ่งเงินที่เข้ามาในมูลนิธิส่วนใหญ่ได้มาจากเงินของรัฐบาล จากกิจการล็อตเตอรี่ การพนันและภาคธุรกิจที่ถูกกดดันให้ต้องบริจาคเงินให้กับมูลนิธิ ซึ่งภายในเวลาไม่กี่ปีมูลนิธิมีเงินกว่าสองร้อยล้านเหรียญสหรัฐ
1949 อีวิต้าก่อตั้ง FPP(Female Peronist Party)
1951 22 สิงหาคม , เหตุการณ์ Cabildo Abierto  ประชาชนกว่า 2-3 ล้านคน มาชุมนุมกันเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของอีวิต้าที่จะเสนอตัวเองเป็นรองประธานาธิบดีในการเลือกตั้ง  แต่ว่าต่อมาอีวิต้าเองเปลี่ยนจะไปจะลงแข่งขันในตำแหน่งดังกล่าว อาจเพราะไม่เป็นที่ยอมรับของกองทัพร่วมกับปัญหาสุขภาพ
5 พฤศจิกายน, เข้ารับการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) โดยศัลยแพทย์จากสหรัฐชื่อ ดอกเตอร์ จอร์จ แพ็คก์ (George T. Pack) และหลังจากการผ่าตัดเอวิต้ายังต้องรับการบำบัดด้วยเคมีซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในเวลานั้นและเธอเป็นผู้หญิงอาร์เจนติน่าคนแรกที่ใช้วิธีนี้รักษามะเร็ง , 
11 พฤศจิกายน วันที่มีการเลือกตั้ง อีวิต้า ต้องลงคะแนนอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล  แต่ว่าผลคะแนนผู้สนับสนุนนายพลเปรอนชนะถล่มทลาย เพิ่มเป็น 62%  
ตุลาคมThe Reason of My Life (La razón de mi vida) หนังสือชีวประวัติของเธอเองถูกพิมพ์ออกมา
1952 My Message (Mi mensaje) ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วันเธอเขียนหนังสือของตัวเองเสร็จอีกเล่มหนึ่ง
26 กรกฏาคม เวลา 20.25 , เสียชีวิตด้วยวัย 33 ปี โดยโรคมะเร็ง
ทันที่ทีเสียชีวิต ในคืนนั้น , ดร.เปโดร เอร่า (Dr. Pedro Ara)  ถูกนำตัวมายังร่างของอีวิต้า และเป็นผู้ทำให้ร่างของอีวิต้า กลายเป็นหุ่นขึ้ผี้ง โดยการใช้กลีเซอรีน (glycerine) ฉีดเข้าไปทดแทนเลือดในร่างของศพ 
9 สิงหาคม , มีพิธีศพแบบรัฐพิธีให้กับเธอที่อาคารรัฐสภา (Naitonal Congress) ซึ่งมีขบวนผู้ออกมาไว้อาลัยเธอหลายล้านคน 
ร่างของอีวิต้าถูกนำมาตั้งไว้ที่ห้องทำงานของเธอภายในอาคาร CGT ที่ทำงานของเธอเมื่อครั้งยังมีชีวิต นานกว่า 2 ปี
1955 23 กันยายน นายพลเปรอนถูกปฏิวัติ เปรอนเดินทางหนีออกไปต่างประเทศโดยทิ้งร่างของอีวิต้าไว้
22 พฤศจิกายน, ร่างของอีวิต้าถูกจารกรรม โดยนายพลคาร์ลอส (Colonel Carlos Eugenio de Moori Koenig) หลังจากนั้นไม่มีใครรู้ว่าร่างของเธอหายไปไหนนานว่า 14 ปี
1957 23 เมษายน ร่างของเอวิต้าถูกนำตัวไปยังเมืองเจโน อิตาลี (Genoa, Italy)  โดยถูกระบุว่าเป็นศพของสตรีชื่อมาเรีย ( Maria Maggi  de Madzhistris)  และต่อมาร่างถูกนำไปฝังที่สุสานในมิลาน 
1971  รัฐบาลทหารของอาร์เจนติน่า ยอมเปิดเผยว่าร่างของอีวิต้าอยู่ที่ไหน และได้ขุดร่างของเธอและนำกลับมายังอาร์เจนติน่า ซึ่งร่างมีความเสียหายบริเวณจมูก และนิ้วมือถูกตัดไปนิ้วหนึ่ง
1974 เมื่อนายพลเปรอนเสียชีวิต ภรรยาคนที่ 3 ของเขา ชืื่อมาเรีย มาร์ติเนซ (Maria Esterla Martinez de Peron) และเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น ได้ตั้งใจทำสุสานขนาดใหญ่ ชื่อ Altar of the Nation เพื่อเก็บร่างของวีรบุรุษของประเทศ และจะนำร่างของนายพลเปรอนและอีวิต้ามาวางไว้ด้วยกัน แต่ว่าโครงการไม่ทันสำเร็จเพราะถูกปฏิวัติ
1976 ร่างของอีวิต้า ถูกย้ายเก็บไว้ที่สุสานเรโคเลต้า (La Recoleta Cemetery) ในกรุงบูโนส ไอเรส ซึ่งเป็นที่พำนักมาจนปัจจุบัน
Don`t copy text!