Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Jiddu Krihnamurti

จิดดู กฤษณมูรติ (జిడ్డు కృష్ణ మూర్తి)

จิดดู เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1895 ในเมืองมาดานาเปลลี (Madanapalle) รัฐมาดรัส (Madras Presidency) ในอินเดียขณะที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ 
จิดดู เป็นคนเชื้อสาย ชาวเตลูกู (Telugu)  พวกเขาพูดภาษาพราห์ม (Brahmin)  พ่อของเขาชื่อจิดดู นารายาเนียห์ (Jiddu Narayaniah) ทำงานเป็นลูกจ้างในสำนักงานการปกครองของอังกฤษ  และแม่ชื่อ ซานจีวัมม่า (Sanjeevamma) พ่อแม่ของเขามีลูกทั้งหมด 11 คน แต่มีแค่ 6 คนที่รอดชีวิตผ่านวัยเด็ก กฤษณมูรติเป็นลูกคนสุดท้อง
1903 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่คุดัปปาห์ (Cudappah)  ระหว่างที่อยู่ที่เมืองนี้ กฤษณะมูรติล้มป่วยด้วยโลกมาเลเรีย ซึ่งตอนที่ป่วยทำให้เขารู้สึกเหมือนว่าตัวเองมีพลังพิเศษ เขาบอกว่าตัวเองสามารถมองเห็นพี่สาวที่ตายไปแล้ว 
1905 แม่ของเขาเสียชีวิต 
1907 ช่วงปลายปีพ่อของเขาลาออกจากงาน ขณะมีอายุราว 52 ปี   และได้เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของสำนักงานสมาคมธีโอโซฟี (Theosophical Society) ในเมืองแอ๊ดยาร์ (Adyar)  ซึ่ง ดร.แอนนี บีซานต์ (Dr. Annie Besant) เป็นประธานของสมาคมธีโอโซฟิสิก ขณะนั้น
1909  มกราคม, ครอบครัวเขาย้ายมาอยู่ที่แอ๊ดยาร์ 
เมษายน, กฤษณมูรติชอบไปนั่งเล่นที่ชายทะเล และทำให้เขาบังเอิญได้พบกับชาร์ล ลีดบีตเตอร์ (Charles Webster Leadbeater) เจ้าหน้าที่อาวุโสของสมาคมธีโอโซฟี ซึ่งลีดบีตเตอร์้เล่าว่าเขามองเห็นแสงออร่าจากตัวกฤษณมูรติ 
1910 ด้วยคำบอกเล่าของชาร์ล  , สมาคมธีโอโซฟี ได้รับอุปการะกฤษณมูรติและนิตยะ (Nitya, Nityananda) พี่ชาย,  ตอนนั้นกฤษณมูรติมีอายุ 13 ปี  พวกเขาหวังว่าจะเลี้ยงดูกฤษณมูรติให้กลายเป็น ครูของโลก (World Teacher) โดยที่ผู้ใหญ่ในสมาคมคอยดูแลสอนหนังสือให้ โดยทีี่ไม่ได้ส่งเขาเข้าโรงเรียน ซึ่งกฤษณมูรติสามารถพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ในเวลาแค่สิบสี่เดือน  ตามการฝึกของสมาคม เขายังได้รับการสอนการทำสมาธิ การฝึกโยคะ แนวคิดของศาสนาต่างๆ และวิชาอื่นๆ ที่สอนกันในโรงเรียนปกติ
1911 สมาคมธีโอโซฟี ได้ก่อตั้งองค์กร  Order of the Star in the East (OSE)  องค์กรนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้อุปถัมกฤษณมูรติโดยเฉพาะ ในฐานะคนที่จะกลายเป็นครูของโลก  และชื่อของกฤษณมูรติเป็นประธานของ OSE 
เมษายน, เขาและพี่ชาย  พร้อมด้วยดร. แอนนี เดินทางไปอังกฤษ โดยจากอินเดีย ไปพม่าก่อนที่จะไปถึงจุดหมายที่อังกฤษ ซึ่งเขากล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกต่อหน้าเยาวชนที่เป็นสมาชิกของ OSE 
1912 พ่อของกฤษณมูรติฟ้องต่อศาล เพื่อที่จะขอสิทธิการดูแลลูกของเขากลับมา แต่ก็ล้มเหลว โดยที่ ดร.แอนนี่ได้รับสิทธิการเป็นผู้ปกครองของเด็ก ทั้ง 2 คน  , ช่วงเวลานี้จนถึงก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1914 นิตยะและกฤษณมูรติเดินทางไปในหลายประเทศในยุโรป พร้อมกับผู้แทนของสมาคมธีโอโซฟี และเมื่อสงครามสิ้นสุดแล้ว เด็กทั้งสองก็มีหน้าที่ในฐานะหัวหน้าของ OSE ในการเดินทางไปเผยแพร่คำสอนทั่วโลก
1921 กฤษณมูรติ ตกหลุมรักกับ เฮเรน คนอธ (Helen Knothe) ชาวสหรัฐอายุ 17 ปี ที่ครอบครัวของเธอเกี่ยวพันธ์กับสมาคมธีโอโซฟี นิตยะ
1922  เริ่มมีอาการป่วยด้วยวัณโรค แต่ก็ยังคงเดินทางกลับไปอินเดียเพื่อพบกับพ่อที่ไม่ได้เจอกันมาหลายปี จากอินเดียพวกเขาเดินทางต่อไปยังซิดนีย์ เพื่อเข้าร่วมประชุมของสมาคมที่นั้น  แต่เมื่ออาการของนิตยะทรุดลงหนัก ทำให้พวกเขาเดินทางไปอาศัยอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีอากาศที่ดีกว่า พวกเขาพักอยู่ที่หมู่บ้านโอใจ (Ojai valley) ซึ่งสมาชิกของสมาคมชาวอเมริกันเอื้อเฟื้อบ้านพักให้พวกเขา  ที่นี่พวกเขายังได้พบกับโรซาไรน์ด(Rosalind Williams) ซึึ่งเป็นนางพยาบาลและเป็นสมาชิกของธีโอโซฟี ได้คอยดูแลนิตยะที่ป่วย 
17 สิงหาคม , ระหว่างอยู่ที่โอใจ กฤษณมูรติมีการเปลี่ยนแปลงด้านประสบการณ์ที่เหนือความเข้าใจอีก ซึ่งเขาเองอธิบายภายหลังว่าเป็น กระบวนการ (process)  เขาเริ่มอาการปวดที่ต้นคอด้านหลัง และเมื่อความเจ็บปวดของเขารุนแรงขึ้น จนบางครั้งสติเลอะเลือน และระหว่างนั้นก็พูดเรื่องต่างสับสน  และเกิดประสบการณ์เกี่ยวกับจิต (spiritual experience) บางครั้งรู้สึกเหมือนกลายเป็นเด็ก  บางครั้งรู้สึกเหมือนการออกจากร่างของตัวเอง (going off) 
พยานที่เห็นปรากฏการณ์ประหลาดที่เกิดกับกฤษณมูรติ มี 4 คน คือ นิตยะ , โรซาไรน์ด, AR Warrington ซึ่งเป็นเลขาธิการของสมาคมธีโอโซฟีสหรัฐ, และ Walton รองประธานของ Liberal Catholic Church USA ซึ่งอาศัยอยู่ติดกัน 
หลังเหตุการณ์ดังกล่าว กฤษณมูรติได้จดเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่เขาจำได้ และมันถูกตีความโดยชาวอินเดีย ว่าเป็นการตื่น (Awakening) 
1925 13 พฤศจิกายน , นิตยะ เสียชีวิตด้วยวัย 27 ปี ด้วยโรควัณโรคและไข้หวัดใหญ่ 
1929 3 สิงหาคม , กฤษรณมูรติประกาศยุบ OSE ระหว่างการประชุมในเนเธอแลนด์ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับลีดบีตเตอร์ และ ดร.แอนนี  , กฤษณมูรติ ให้เหตุผลว่า สัจจธรรมนั้นเป็นดินแดนที่ไม่มีหนทางให้ไปถึง (Truth is a pathless land) คุณจะไม่มีวันไปถึงไม่ว่าจะด้วย ศาสนาหรือลัทธิใดๆ  ความจริงไร้ขอบเขต ไร้เงือนไข และไม่สามารถไปถึงด้วยวิธีการใดๆ  มันไม่สามารถถูกจัดตั้ง และไม่ควรมีองค์กรใดอ้างว่ามีวิธีในการที่จะนำผู้คนไปตามเส้นทางนั้น … ผมไม่ต้องการให้มีใครเดินรอยตาม … นาทีใดที่คุณเดินทางใครสักคน เท่ากับคุณละทิ้งความจริงแล้ว …เขาไม่ต้องการสร้างลิทธิใหม่ ความเชื่อใหม่ หรือว่าศาสดาใหม่ 
หลังจากนั้นผู้คนที่เคยศรัทธาต่อตัวเขาในฐานะ ผู้ที่จะเป็นครูของโลกก็พากันเปลี่ยนไป กฤษณมูรติก็ต้องแยกออกจากสมาคมธีโอโซฟี เขาลาออกจากทรัสต์ต่างๆ ของสมาคม และคืนทรัพย์สินที่บริจาคให้ OSE. 
1930 เขาก่อตั้ง Star Publishing Trust  และออกเดินสายเพื่อพูดในโอกาสต่างๆ ซึ่งเขายังเน้นการสอนเกี่ยวกับความจริง ความทุกข์ อิสระภาพและการทำสมาธิ  โดยที่โอใจ ยังเป็นสำนักงานหลักของทรัสต์แห่งใหม่ชื่อ Star Publishing Trust ที่ก่อตั้งร่วมกับ เดสิกชาร์ยะ ราจาโกปาล (Desikacharya Rajagopal) โดยใช้บ้านที่ชื่อ อารยะ วิหาร(Arya Vihara)  เป็นสำนักงาน
 ช่วงปี 30s-40s นี้เขาเดินทางไปทั่วโลก จนกระทั้งเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทำให้เขาหยุดพักอยู่ที่ อารยะ วิหาร และทำฟาร์มด้วย 
หลังสงครามโลกเขากลับมาเดินทางเพื่อไปพูดต่างที่ต่างๆ ทั่วโลกอีกครั้ง และได้แลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังและบุคคลสำคัญมากมาย อย่าง เดวิด บอห์ม (David Bohm) นักควอนตัมฟิสิกกลายเป็นเพื่อนที่สนิทกัน และยังพบกับนายกอินทิรา คานธี (Indira Gandhi) หลายครั้ง 
1986 4 มกราคม , “no further purpose” เป็นหัวข้อสุดท้ายของกฤษณมูรติที่เขาพูดกับผู้มาฟัง ที่เมืองมาดราส 
17 กุมภาพันธ์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในตับอ่อน ขณะอายุได้ 90 ปี เถ้ากระดูกของเขาถูกแบ่งไปโปรยในอินเดีย อเมริกา และอังกฤษ 
  • Awakening of Intelligence
  • To Be Human
  • Krishnamurti to Himself : His Last Journal
  • On God
  • Think on These Things
  • Krishnamurti’s Notebook
  • The Ending of Time  ร่วมกับ David Bohm
  • What Are you Doing with your Life?
  • Inward Revolution: Bringing About Radical Change in the World
  • Education as Service
  • Life Ahead : On Learning and the Search for Meaning
  • Freedom From the Known
  • The First and Last Freedom  ร่วมกับ Aldous Huxley
  • The Book of Life: Daily Meditations with Krishnamurti
  • As One Is : To Free the Mind from all Conditioning 
  • The First and Last Freedom
  • On Love and Loneliness
  • On Fear
  • Education and Significance of Life
  • The Krishnamurti Reader
  • This Light in Oneself
  • Meeting Life : Writings and Talks on Finding Your Path Without Retreating from Society
  • On Relationship
  • Total Freedom 
  • Total Freedom: The Essential Krishnamurti
  • Commentaries on Living 1 กับ D. Rajagopal 
  • The Flight of the Eagle
  • Your Are The World 
  • At the Feet of the master
  • Commentaries on Living 2
  • Commentaries on Living 3
  • Meditatons
  • Beyond Violence
  • Can Humanity Change ? : J. Krishnamurti in Dialogue with Buddhists
  • Freedom, Love and Action 
  • Talks and Dialogues
  • The Impossible Question 
  • The Limits of Thought
  • Reflections on the Self กับ Raymond Martin
  • The Only Revolution 
  • Truth and Actuality
  • The Network of Thought
  • The Flame of Attention
  • Talks with American Students
  • Questioning Krishnamurti
  • The Future of Humanity : A Conversation
  • Choiceless Awareness : A Selection of Passages for the Study of the Teaching of J. Krishnamurti  กับ Albion W. Patterson
  • Facing a World in Crisis : What Life Teachs Us in Challegning Times
  • On Freedom 
  • On Living and Dying
  • Truth in a Pathless Land
Don`t copy text!