Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Albert Szent-Györgyi

อัลเบิร์ต เซนต์-จอร์จี (Albert Szent-Györgyi)

แพทย์ชาวฮังการี ผู้คนพบวิตตามิน “ซี” , เจ้าของรางวัลโนเบลปี 1937
อัลเบิร์ต เซนต์-จอร์จี เกิดในกรุงบูดาเบสต์  ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี  วันที่ 16 กันยายน  1893 เขาเป็นลูกคนที่สองของครอบครัว
พ่อของอัลเบิร์ต ชื่อ มิกลอส เซนต์-จอร์จี (Miklos Szent-Gyorgyi) เป็นเจ้าของที่ดิน และนับถือคริสต์นิกายคาลวินิสต์ (Calvinist) มิกรอสนั้นเดิมที่เขาเกิดในทรานซิลวาเนีย ประเทศโรมาเนีย
ส่วนแม่นั้นชื่อว่า โจซฟีน่า (Jozefina Lehhossek) เธอนับถือนิกายโรมันแคธอริก  และครอบครัวเธอล้วนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ โจซฟีน่าเป็นน้องสาวของศัลยแพทย์ชื่อดังของฮังการี มิฮาลี เลนฮอสเซก (Mihaly Lenhossek) ซึ่งเขาเป็นศาสตร์จารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยบูดาเปสต์ มิฮาลี ทำงานศึกษาเรื่องของระบบประสาทของสมอง โจซฟีน่าเองนั้นเธออยากจะเป็นดักร้องโอเปร่า
อัลเบิร์ต บอกว่าวัยเด็กของเขานั้นเป็นคนที่ไม่ฉลาด และเกลียดการอ่านหนังสือ พ่อแม่ของเขาต้องจ้างครูมาสอนพิเศษให้ทุกครั้งช่วงใกล้สอบ เขาเริ่มตั้งใจเรียนเมื่อตอนอายุ 16 ปีแล้ว 
1911 อัลเบิร์ต เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเซมเมลเวียส (Semmelweis university) มหาวิทยาลัยทางด้านการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดของฮังการี ซึ่งไม่นานเขาก็เบื่อที่จะเรียนเกี่ยวกับยา แต่ว่าหันไปสนใจเรื่องกายวิภาพ และได้เข้าไปช่วยทำงานในห้องแล็ปของมิฮาลี ลุงของเขา 
1914 การเรียนของเขาต้องหยุดชะงักเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเข้าเป็นทหารในหน่วยแพทย์ 
1916 ความเครียดในสงครามทำให้เขาใช้อาวุธปืนทำลายตัวเองโดยใช้ปืนยิงเข้าที่แขนซ้ายตัวเองแล้วอ้างว่าถูกฝ่ายตรงข้ามทำร้าย เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการออกจากทหารและกลับไปรักษาตัวที่บ้าน  และเมื่อเขารักษาแขนหายแล้ว เขาได้กลับไปเรียนหนังสือต่อ 
1917 เขากลับมาเรียนต่อจนจบด้านการแพทย์  , ปีนี้เขาแต่งงานกับ กอร์เนเลีย เดมีนี (’Nelly’,  Kornelia Demeny) เธอเป็นลูกสาวของอดีตนายพลคนหนึ่งของฮังการี  หลังแต่งงานแล้วเธอตามเขาไปทำงานในคลีนิกของกองทัพบริเวณตอนเหนือของอิตาลี  ซึ่งปีต่อมากอร์เนเลีย ให้กำเนิดลูกคนเดียวของพวกเขา ชื่อ กอร์เนเลีย (Kornelia, ‘Little Nelly’) ในเดือนตุลาคม 1918
หลังสงครามโลกสงบลงในปี 1918 เขาออกจากบุดาเบสก์ ไปอยู่ที่โปซโซนี (Pozsony, Czechosolvakia) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของฮังการี แต่ว่าหลังกันยายน 1919 เมื่อโปซโซนีกลายเป็นส่วนหนึ่งของเชคฯ แล้ว ชาวฮังการีก็ถูกเชิญออกจากประเทศ  ซึ่งอัลเบิร์ตกลับมาอยู่ที่บูดาเปรส ก่อนที่จะเดินทางอยู่ในเยอรมัน ในหลายเมือง และยังคงทำงานวิจัยด้านชีวเคมี 
1926  ผลงานของอัลเบิร์ตที่ตีพิมพ์ลงในนิตยาศาสตร์ ทำให้เซอร์ เฟรเดริค ฮอปกิ้น (Sir Frederick Gowland Hopkins) เสนอทุนของมูลนิธิล็อคกี้เฟลเลอร์  (Rockefeller) ให้เขาไปเรียนที่มหาวิทยาลับแคมบริดจ์  
1927 ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคมปริดจ์ จากการวิจัยของเขาที่แยกเขากรด ที่อัลเบิร์ต เรียกว่ากรดเฮซูโรนิค  "hexuronic acid“ จากผลไม้ 
1931 เดินทางกลับมายังฮังการี ตามคำเชิญของรัฐมนตรีศึกษา และได้เข้าทำงานกับมหาวิทยาลัยเซเกด (Szeged university) ซึ่งที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ อัลเบิร์ต ได้ทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยชาวสหรัฐโจเซฟ สไวร์เบลี (Joseph Svirbely)   ซึ่งโจเชฟ เคยทำงานกับชาร์ล คิง (Charles Glen King) มาก่อน ซึ่งต่อมาพบว่า Vitamin C และ Hexuronic acid นั้นเป็นสารชนิดเดียวกัน  ซึ่ง ชาร์ล คิง และ อัลเบิร์ต ได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ค้นพบวิตามินซีในเวลาที่ใกล้เคียงกัน 
ช่วงเวลานี้อัลเบิร์ตยังทำงานวิจัยเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของระบบหายใจ ซึ่งทำให้เขาค้นพบวัฏจักรของกรดซิติก (Kerbs cycle)
1937 ได้รับรางวัลโนเบล จากผลงานค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการหายใจ คุณสมบัติของวิตามินซี และกระบวนการเร่งปฏิริยาเคมีของกรดฟูมาริก (for his discoveries in connection with the biological combustion process with special reference to vitamin C and the catalysis of fumaric acid)
 อัลเบิร์ต บริจาคเงินรางวัลของเขาให้กับทหารชาวฮังการีที่ไปรบเพื่อช่วยเหลือฟินแลดน์ ในสงครามระหว่างฟินแลดน์และโซเวียต (winter war) 
1938  เริ่มทำงานศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของกล้ามเนื้อ 
1941 หย่ากับกอร์เนเลีย และแต่งงานใหม่กับมาร์ธ่า  (Marta Miskolczy)
ช่วงเวลานี้เขาเกี่ยวข้องทางการเมือง ด้วยการเคลื่อนไหวกับกลุ่มใต้ดินที่ทำงานต่อต้านนาซี 
1944 ถูกรัฐบาลกักบริเวณไว้แต่ภายในบ้าน แต่ว่าต่อมาเขาหลบหนีออกมาได้ และต้องคอยหนีการตามล่าของเกซตาโบจนกระทั้งสงครามสิ้นสุดในปี 1945 หลังจากสิ้นสงครามแล้ว เขาพยายามช่วยพื้นฟูกรุงบูดาเปสต์ โดยเฉพาะอาคารมหาวิทยาลัยและสถาบันวิทยาศาสตร์ แต่ว่าทหารของโซเวียตที่อยู่ในฮังการีตอนนั้นทำให้เขาผิดหวังที่บ้านเมืองตกต่ำทางด้านเสรีภาพ และงานวิทยาศาสตร์ไม่ก้าวหน้า
1947 อพยพไปสหรัฐอเมริกา พร้อมกับภรรยาคนที่สองของเขา โดยไปอาศัยอยู่ในวู๊ดโอล แมชซาชูเซตต์ (Woods Hole , Massachusetts) และได้ก่อตั้งมูลนิธิ เซนต์-จอร์จี (Szent-Györgyi Foundation) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยกล้ามเนื้อ
1948 เขาเปลี่ยนชื่อมูลนิธี เซนต์-จอร์จี เป็นสถาบันเพื่อการวิจัยกล้ามเนื้อ (Institute for Muscle Research) หลังจากได้รับทุนสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยพริ้นตัน มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institues of Health)
1954 ได้รับรางวัล Lasker Award จากผลงานการค้นคว้าโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ (Cardiovascular disease)
1955 ได้รับฐานะพลเมืองสหรัฐ ,ช่วงปี 1950s-70s อัลเบิร์ตทำการศึกษาเกี่ยวกับ bioflavinoids (vitamin P) เขาหวังว่าความรู้นี้อาจจะช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ซึ่งเขาทำงานวิจัยด้านมะเร็งจวบจนวาระสุดท้าย
1956 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ National Academy of Sciences ของสหรัฐ
1963 มาร์ธ่า ภรรยาของเขาเสียชีวิต , ในช่วงสงครามเวียดนาม (1955-1975) อัลเบิร์ตเป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่ต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อยุติสงครามโดยอ้างสันติภาพ
1973 เดินทางกลับไปเยี่ยมฮังการี และได้รับปริญญาดุษฏีจากมหาวิทยาลัยเซเกต 
1975 แต่งงานกับมาร์เซีย ฮูสตัน (Marcia Houston)
1986 เสียชีวิต 22 ตุลาคม
Don`t copy text!