Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Rudyard Kipling

โจเซฟ รุดยาร์ด คิปลิง (Joseph Rudyard Kipling)

ผู้แต่งนิทานเรื่องเมาคลี , นักเขียนรางวัลโนเบลคนแรกของอังกฤษ

เขาเกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1865 ในเมืองบอมเบย์ สมัยที่เมืองนี้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรอังกฤษ พ่อของเขาชื่อว่า ล๊อควูด  คิปลิง (John Lockwood Kipling) และแม่ชื่อว่า อลิส แมคโดนัล (Alice MacDonald) ,
 ล็อควูด นั้นมีอาชีพเป็นช่างทำปฏิมากรรมและปั้นภาชนะดินเผา และทำงานเป็นอาจารย์ด้านศิลปะที่โรงเรียนศิลปะ เซอร์ เจ. เจ ( Sir Jamsetkee Keekebhoy School of Art) ในบอมเบย์ ซึ่งเพิ่งก่อตั้ง
 ส่วนอลิส เป็นผู้หญิงจากครอบครัวที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ 
1871 ถูกส่งตัวกลับอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนในเซาท์ซี (Southsea, Engliand) โดยอาศัยอยู่ที่บ้านของ นายกัปตัน ฮอลโลเวย์ (Captain Holloway) ซึ่งภรรยาของเขาเป็นครูในโรงเรียนประจำและเป็นคนที่ดุมาก ซึ่งคิปลิงไม่มีความสุขเลยตลอดที่อยู่ที่บ้านหลังนี้ เขาบอกว่าในบ้านมีแต่นายกัปตันที่ใจดี แต่เขาก็มาด่วนจากไปเสียก่อน 
1878 เข้าเรียนหนังสือที่วิทยาลับยูไนเต็ดเซอร์วิส (United Services College) ในอังกฤษ ซึ่งเพิ่งจะก่อตั้งขึ้น สำหรับเตรียมความพร้อมให้เด็กที่จะเข้ารับใช้กองทัพ 
1881 Schoolboy Lyrics เป็นผลงานที่แรกที่พิมพ์ออกมา โดยที่พ่อกับแม่ของเขาเป็นคนออกค่าใช้จ่าย
1882 20 กันยายน เดินทางออกจากอังกฤษโดยมีเป้าหมายที่อินเดีย   เขามาถึงอินเดียในวันที่ 18 ตุลาคม เขากับไปอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ และได้งานทำ  โดยทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ชื่อ Civil & Military Gazette โดยเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ
1883 เดินทางมายังเมืองชิมล่า (Shimla) ซึ่งอังกฤษใช้เป็นเมืองหลวงในการบริหารสำหรับช่วงฤดูร้อน 
1886 Departmental Ditties เป็นบทงานรวมบทกวีเล่มแรกของเขา , ในขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ Civil & Military Gazette ได้เปลี่ยนบรรณาธิการคนใหม่เป็น เคย์ โรบินสัน (Kay Robinson) ซึ่งให้อิสระในการทำงานแก่คิปลิงมาก และกระตุ้นให้เขาแต่งเรื่องสั้นสำหรับหนังสือพิมพ์
1887 ย้ายมาทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ The Pioneer ในเมืองอัลลาห์ฮาบัต (Allahabad)
1888 มีผลงานร้อยแก้ว ตีพิมพ์ในคัลคัตต้า (Calcutta) และในปีนี้ยังได้เขียนเรื่องสั้นออกมามายมาย อย่าง Soldiers Three, Under the Deodars, The Phantom Rickshaw, Wee Willie Winkie รวมแล้วกว่า 41 เรื่อง
1889 ลาออกจาก The Pioneer เพราะปัญหาความขัดแย้ง หลังจากนั้นเขาขายลิขสิทธิ์ผลงานของเขาจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะหาเงินเพื่อออกเดินทางกลับอังกฤษ โดยออกเดินทางในเดือนมีนาคมมาทางตะวันออก ผ่านพม่า สิงคโปว์ ญี่ปุ่น และสหรัฐ  โดยใช้เวลานานในการเดินทางท่องเที่ยวในรัฐต่างๆ ของอเมริกา ก่อนที่จะกลับมาถึงท่าเรือในเมืองลิเวอร์พูลในเดือนตุลาคม ก่อนที่จะไปอาศัยอยู่ในลอนดอนโดยเช่าห้องเล็กๆ อยู่ ซึ่งเมื่อเขากลับมาอังกฤษนั้น เขาพบว่าหนังสือที่เขาเขียนทำให้เขามีชื่อเสียงในอังกฤษแล้ว 
1890 The Light that Failed นวนิยายเรื่องแรกของคิปลิง  ซึ่งนางเอกของเรื่อง ชื่อ Maisie กล่าวกันว่าคิปลิงได้ต้นแบบมาจากฟลอเรนส์ การ์ราร์ด ( Florence Garrard) เพื่อนผู้หญิงที่เขาหลงรักสมัยยังเป็นนักเรียน  แต่หนังสือไม่ได้ประสบความสำเร็จในตอนแรกที่พิมพ์ออกมา
 เขาเดินทางไปสหรัฐและได้พบกับนักเขียน วอลคอตต์ บาเลสเตียร์ (Wolcott Balestier) ซึ่งคิปลิงได้ทำงานร่วมกับเขาในการเขียนนิยายเรื่อง The Nualahka , และคิปลิงเองได้พบรักกับน้องสาวของวอลคอตต์ 
1891 คิปลิงมีอาการป่วยจากความเครียด (nervouse breakdown) จากการที่เขาพยายาทำงานนานติดต่อกันวันละกว่าสิบชั่วโมง จนเขาได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้เดินทางไปพักผ่อน  ซึ่งเขาก็ออกเดินทางอีกครั้งโดยไปในหลายประเทศ มีเป้าหมายที่นิวซีแลนด์ ระหว่างนี้ได้แวะฉลองช่วงคริสมาสต์กับครอบครัวที่อินเดีย ซึ่งที่อินเดียวนี้เองเขาได้รับข่าวการเสียชีวิตของวอลคอตต์จากโรคไทฟอยด์ (Typhoid) ทำให้เขาเดินทางกลับ แต่ก่อนกลับเขาได้ส่งโทรเลขไปยังน้องสาวของวอลคอตต์ เพื่อขอเธอแต่งงาน
1892 18 มกราคม คิปลิง วัย 26 ปี แต่งงานกับแคโรไลน์  ( Caroline Starr Balestier, 1862-1939) ซึ่งแก่กว่าเขา 3 ปี พิธีจัดขึ้นที่วิหาร All Souls church ในลอนดอน 
ซึ่งหลังจากแต่งานแล้วทั้งคู่เดินทางไปฮันนีมูนกันที่สหรัฐ ก่อนที่จะเดินทางไปต่อที่ญี่ปุ่น ในเมืองยาโกฮาม่า ซึ่งระหว่างที่อยู่ในญี่ปุ่นพวกเขาก็ทราบข่าวการล้มละลายของธนาคาร The New Oriental Banking ซึ่งทำให้ทั้งคู่สูญเสียเงินที่ฝากไว้กับธนาคาร และพวกเขาต้องยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยว  ซึ่งระหว่างนี้แคโรไลน์ได้ตั้งท้องลูกของพวกเขาแล้ว 
พวกเขาไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยได้เช่าบ้านหลักเล็กๆ อยู่ใกล้กับกับแบรทเทิ้ลโบโร่ (Brattleboro) ในรัฐเวอร์มอนต์ (Vermont) โดยที่เขาตั้งชื่อบ้านหลังนนี้ว่า Bliss Cottage ที่บ้านหลังนี้เองที่เขาเริ่มเขียน The Jungle Books (เมาคลี)
29 ธันวาคม ลูกสาวของพวกเขาชื่อโจเซฟิน (Josephine) เกิดมา
ต่อมาเขาได้ซื้อที่ดินกว่าสิบเอเคอร์บริเวณริมแม่น้ำคอนเนคติกัต  ห่างจากบ้านหลังเดิมไม่กี่ไมล์ และสร้างบ้านของพวกเขาเองขึ้นมา คิปลิงเรียกบ้านหลังใหม่นี้ว่า Naulakha เพื่อระลึกถึงวอลคอตต์ 
1894 Jungle Book พิมพ์ออกมา โดยมีภาพวาดประกอบ ที่ภาพบางภาพนั้นพ่อของคิปลิงเองเป็นคนวาดให้ หนังสือได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตวัยเด็กของเขาในอินเดีย
1896 กุมภาพันธ์ ลูกสาวคนที่สองของเอลซี่ (Elsie
ช่วงเวลานี้เกิดความขัดแย้งเรื่องพรหมแดนระหว่างเวเนซูเอล่าและดินแดนบริดิส เกียน่า (British Guiana) ของอังกฤษ ซึ่งสหรัฐพยายามมาเป็นตัวกลางในการเจรจาหลายครั้ง ทำให้เกิดกระแสต่อต้านอังกฤษในสังคมอเมริกัน จนในที่สุดคิปลิงก็รู้สึกแย่
นอกจากนั้นเขายังมีปัญหากับน้งอชายของแคร์รี่ ชื่อ เบียตตี้ (Beatty Balestier) ที่ชอบดื่มเหล้า จนมีเรื่องทำร้ายร่างกายระหว่างกัน 
ในที่สุดคิปลิงจึงตัดสินใจพาครอบครัวย้ายออกจากสหรัฐ ช่วงเดือนกรกฏาคม 
กันยายน มาอยู่ที่ตอร์กัว (Torquay) ในอังกฤษ เป็นเมืองเล็กๆ ที่อยู่บนเนิน แต่มองเห็นชายฝั่งได้ชัดเจน 
1897 สิงหาคม ลูกชายคนแรกเกิดขึ้นมา เขาให้ชื่อว่า จอห์น (John
ย้ายบ้านจากตอร์กัว มาอยู่ที่ร็อททิ้งเดียน, ซัสเซกตะวันออก (Rottiingdean, East Sussex)
1898 ช่วงต้นปีเขาเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศแอฟริกาใต้  เป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอัฟริกาใต้  (Boer War, 1899-1902) และมีสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและสเปน (Spanish-American War, 1898) ทำให้คิปลิงหันมาเขียนงานที่เกี่ยวข้องกับการล่าอาณานิคมอย่าง White Man’s Burden (1899) , A Fleet in Being , The Day’s Work ซึ่งคิปลิงชัดเจนในการสนับสนุนจักรวรรดินิยมอังกฤษ ทำให้ผลงานที่ออกมาเป็นที่วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ช่วงที่เกิดสงครามในอัฟริกาใต้นั้น คิปลิงอาศัยอยู่ที่นี่นานหลายเดือน โดยหาเงินทุนช่วยเหลือทหาร และเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ทหาร ชื่อ The Friend  , 10 ปีหลังจากนี้ คิปลิงกลับมาเยือนอัฟริกาใต้เป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูหนาวของอังกฤษ โดยทุกครั้งจะไปพักที่บ้านชื่อ The Woolsack ในเคปทาวน์ ซึ่งบ้านนี้เป็นของ ซีซิล โรดส์ (Cecil Rhodes) เจ้าของบริษัทเดอร์ เบียร์ 
1899 ระหว่างที่เขาและภรรยาเดินทางไปสหรัฐ โจเซฟินลูกสาวก็เกิดล้มป่วยด้วยโรคนิวโมเนีย (pneumonia) และเธอเสียชีวิต 
1901 Kim ผลงานของเขาที่เขียนเกี่ยวกับชีวิตในอินเดีย เป็นผลงานเกี่ยวกับอินเดียชิ้นสุดท้ายแต่ว่าได้รับความชื่นชมมาก
1902 ซื้อบ้าน Batemans ซึ่งยังอยู่ในแถบซัสเซกตะวันออกในซึ่งเป็นที่พำนักสุดท้ายของเขาจนกระทั้งเสียชีวิต  มันเป็นบ้านแบบจาโคเบียน (Jacobean style) ที่สร้างโดยหิน  และบันไดทำจากไม้โอ๊ค ชั้นสองของบ้านไม่มีการต่อไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งพวกเขาชอบมันมาก
1905 With the Night Mail เป็นเรื่องสั้นแนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกของคิปลิง 
1906 เขาแต่งเพลง Land of Our Birth, We Pledge to Thee
1907 ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมเป็นคนแรกของประเทศอังกฤษ 
1910 if บทกวีหนึ่งที่มีชื่อเสียงของคิปลิง พิมพ์ออกมาเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือรวมเรื่องสั้นของเขา  Reward and Fairies , if มักถุกยกย่องว่าเป็นบทกวียอดนิยมที่สุดของอังกฤษ ซึ่งคิปลิงเขียนเอาไว้ว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ดร.เลียนเดอร์ เจมสัน (Dr.Leander Starr Jameson) ซึ่งร่วมในการรบในสงครามระหว่างอังกฤษและอัฟริกาใต้ 
1915 จอห์น ลูกชายของเขาเสียชีวิตในสงคราม 
1936 เสียชีวิต 18 มกราคม ขณะมีอายุได้ 70 ปี ในลอนดอน และถูกฝังที่ Wesminster Abbey
1937 Something of Myself เป็นชีวิตประวัติที่คิปลิงเป็นคนเขียนเอง พิมพ์ออกมาหลังจากเขาเสียชีวิต
Don`t copy text!