Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Emmeline Pankhurst

เอ็มมีไลน์ แพนเคริสต์

ผู้นำกองทัพสตรี (Suffragette) ผู้เรียกร้องสิทธิเสมอภาคระหว่างชายหญิง หนังสือไทม์ บอกว่าเธอคือ 1 ใน 100 ของผู้หญิงแห่งศตวรรษที่ 20 

 เอ็มมีไลน์ , ตอนเกิด เธอคือ เอ็มมีไลน์ กัวล์เดน (Emmeline Goulden) เอกสารทางการระบุว่าเธอเกิดในวันที่ 15 กรกฏาคม 1858 ในเมืองแมนเซสเตอร์ อังกฤษ แต่ว่าตัวเธอเองนั้นเชื่อว่าเธอเกิดในวันที่ 14 ซึ่งเป็นวันบาสติลล์ (Bastille Day) วันชาติของฝรั่งเศส 
พ่อของเธอชื่อ โรเบิร์ต กัวล์เดน (Robert Goulden) เป็นพ่อค้าในเมืองแมนเชสเตอร์ และยังลงเล่นการเมืองท้องถิ่น เขาเป็นคนที่สนับสนุนเรื่องสิทธิสตรีก่อนเอ็มมีไลน์เสียอีก   ส่วนแม่ของเธอชื่อว่า โซเฟีย (Sophia Jane Craine) เป็นชาวเกาะแมนก์ ( Isle of Man) เกาะหนึ่งของอังกฤษที่มีการปกครองตัวเอง  ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 11 คน แต่ว่าลูกคนแรกเสียชีวิตตอนอายุ 2 ขวบ  
เอ็มมีไลน์ สามารถอ่านหนังสือได้ตั้งแต่อายุ 3 ปี เธออ่าน Odyssey ตอนอายุ 9 ขวบ และหนังสือเล่มโปรดของเธอคือ หนังสือไตรภาคเรื่องการประปฏิวัติฝรั่งเศส ( The Frech Revolution : A History) ของโทมัน คาร์ลิล (Thomas Carlyle)  ที่เธอบอกว่ามันเป็นแรงบันดาลใจตลอดชีวิตของเธอ
1873 ตอนอายุ 15 เดินทางไปปารีส เพื่อเข้าเรียนที่  Ecole Normale de Neuilly ซึ่งรับนักเรียนหญิง ในวิชาด้านเคมีและบรรณารักษ์ ระหว่างเรียนหนังสือเธอมีเพื่อนสนิท ชื่อ Noemie Rochefort ซึ่งเป็นคนทำให้เอ็มมีไลน์พบรักกับชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง จนทั้งคู่เกือบแต่งงานกัน แต่ว่าพ่อของเอ็มมีไลน์ ไม่เห็นด้วย และปฏิเสธที่จะจ่ายเงินสินสมรส ทำให้ฝ่ายชายของเลิก 
1879 18 ธันวาคม ในเอ็คเคิ้ลส์ (Eccles) แต่งงานกับ ริชาร์ต แพนเคริสต์ (Richard Pankhurst) นักกฏหมายซึ่งสนับสนุนสิทธิสตรี การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเขาเป็นคนเขียนกฏหมายการแบ่งทรัพย์สินของสตรีหลังแต่งงาน Married Women’s Propety Acts (1870,18882)   ทั้งคู่อายุต่างกัน 24 ปี  พวกเขามีลูกด้วยกัน 5 คน ชื่อคริสเดเบิ้ล(Chirtable, b.1880) ซิลเวียร์ (Sylvia, b. 1882) แฟรงค์(Francis Henry~Frank,b.1882) เอเดล่า (Adela, b.1885)  แฟรงค์ (Henry Francis~ Frank, 1889)
1880s ช่วงปี 80s พวกเขา
1884 ริชาร์ดลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค Liberal Party เพราะพรรคตกอยู่ใต้อิทธิพลของนายทุนสองคน
1886 ทั้งคู่ย้ายมายังลอนดอน   โดยที่ริชาร์ดลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แต่ว่าคะแนนไม่เพียงพอ ส่วนเอ็มมีไลน์เธอเปิดร้านขายผ้าเล็กๆ ชื่อ Emerson and Company , เธอเข้าร่วมการ
1888 แฟรงค์ ลูกชายของทั้งคู่เสียชีวิต ในวันที่ 11 กันยายน  พวกเขาโทษว่าเป็นเพราะระบบน้ำทิ้งที่แย่และเพื่อนบ้านที่ไม่ดีทำให้ลูกชายป่วยจนตาย พวกเขาจึงย้ายบ้านอีกครั้งไปอยู่แถวจตุรัสรัสเซลล์ (Russell square) บ้านของเธอที่นี่ตกแต่งอย่างสวยงาามด้วยเฟอร์นิเจอร์แบบเอเชีย ซึ่งบ้านที่นี่กลายเป็นที่นัดพบปะกันของนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีในเวลานั้น
กลุ่ม National Society for Women’s Suffrage(NSWS) ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนสิทธิสตรี เกิดความแตกแยกภายใน เมื่อสมาชิกบางคนผลักดันให้กลุ่มไปเป็นส่วนหนึ่งของพรรคการเมือง ทำให้สมาชิกหลายคนรวมทั้ง เอ็มมีไลน์ ไม่พอใจ และแยกตัวออกมา
1889 7 กรกฏาคม, เอ็มมีไลน์ ให้กำเนิดลูกชายอีกคน เธอตั้งชื่อให้ว่า แฟรงค์ เหมือนกับลูกชายที่เสียชีวิตไป
25 กรกฏาคม , ก่อตั้ง Women’s Frainchise League (WFL) ซึ่งมีการประชุมกันที่บ้านของเอ็มมีไลน์เป็นครั้งแรก สมาชิกเริ่มแรก เช่น แฮร์เรียต สแตนตัน (Harriot Stanton) ลูกสาวของอลิซาเบธ สแตนตัน (Elizabeth Stanton) นักเรียกร้องสิทธิสตรีชาวสหรัฐ, โจเซฟีน บัตเลอร์ (Josephine Butler) สตรีอังกฤษที่เรียกร้องสิทธิให้กับผู้หญิงที่ค้าประเวณี และเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฏหมายการควบคุมโรคติดต่อการมีเพศสัมพันธ์ (Contagiouse Diseases Acts) ซึ่งในเวลานั้น กฏหมายบังคับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวผู้หญิงที่เป็นโรค ไปกักขังในโรงพยาบาลจนกว่าจะรักษาจนหายดี แต่กฏหมายนี้ไม่เป็นธรรมเพราะบังคับกับสตรี แต่ไม่บังคับกับผู้ชาย 
แต่ว่า WFL ซึ่งมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรง และไปเกี่ยวข้องกับพวกฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงมาก ทำให้ไม่นาน WFL ก็มีสมาชิกที่ทยอยกันลาออกไป และ WFL ก็ยุบไปในปี 1893
1893 ร้านของเธอในลอนดอนไม่ประสบความสำเร็จทำให้เธอปิดร้าน แล้วย้ายกลับมาที่แมนเชสเตอร์ โดยย้ายไปหลายที่ก่อนที่จะมาอยู่แถววิคตอเรียปาร์ค (Victoria park) เธอเข้าร่วมกับกลุ่มการเมืองหลายกลุ่ม ก่อนที่จะร่วมกับ คีร์ ฮาร์ดี้ (Keir Hardie) ชาวสก็อต เพื่อนของพวกเขาก่อตั้งพรรค Independent Lapour Party (ILP) โดยงานของเอ็มมีไลน์ ตอนแรกๆ คือการแจกจ่ายอาหารช่วยเหลือคนยากจน ไม่เกี่ยงว่าเป็นผู้หญิงหรือชาย
1894 ได้รับเลือกให้เป็น Poor Law Guardian ประจำเมือง ชอร์ตัน ออน เดมล็อค (Chorton-on-Medlock, Manchester)
1898 ริชาร์ต แพนเคริสต์ เสียชีวิต , เอ็มมีไลน์ไม่ได้อยู่กับเขาตอนที่เขาตาย เธอเดินทางไปสวิสเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยน้องสาว แต่เธอได้รับโทรเลขจากริชาร์ตว่าเขามีอาการแย่ลง ให้เธอรีบกลับ และระหว่างที่เอ็มมีไลน์อยู่บนรถไฟจากลอนดอนไปยังแมนเชสเตอร์ เธอก็ได้อ่านข่าวการเสียชีวิตของริชาร์ดในหนังสือพิมพ์แล้ว
หลังการเสียชีวิตของริชาร์ต เอ็มมีไลน์ ได้ลาออกจากคณะกรรมการ Poor Law Guardian และย้ายบ้านออกไปหาบ้านเล็กที่เล็กกว่า หลังจากนี้เธอเปลี่ยนที่อยู่หลายครั้ง 
1903 เธอช่วยในการก่อตั้ง Women’s Social and Political Union (WSPU) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมให้กับสตรี  โดยเฉพาะสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง เอ็มมีไลน์ บอกว่า "Deeds, not Words was to be our permanent motto , การลงมือทำ ต่างหาก ไม่ใช่คำพูด ที่จะเป็นคติประใจของพวกเรา"
เริ่มแรกของ WSPU นั้นมักจะประท้วงอย่างสันติวิธี โดยการชุมนุมหน้ารัฐสภาเพื่อเรียกร้องให้สภาผ่านกฏหมายรับรองสิทธิเลือกตั้งของสตรี ลูกสาวคนโปรดของเอ็มมีไลน์ ชื่อ คริสตาเบล เคยถูกจับและปรับในปี 1905  เพราะว่าไปตะโกนเรียกร้องสิทธิต่อหน้านายกรัฐมนตรีเอ็ดเวิร์ก เกรย์ (Sir Edward Grey) ว่า “Will the Liberal Government give votes to women ? , รัฐบาลเสรีนิยมของท่านจะให้สิทธิสตรีในการเลือกตั้งหรือไม่ ?”
1908 เอ็มมีไลน์ ถูกจับครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเธอพยายามจะเข้าไปในรัฐสภาเพื่อประท้วงนายกรัฐมนตรีแอสคิธ (Herbert Asquith) เธอถูกจับขังคุกนาน 6 สัปดาห์ โดยถูกจับขังเดี่ยว ทำให้เธอพบกับสภาพในคุกอังกฤษที่แย่มาก ทั้งอาหารความสะอาด เธอบอกว่ามันเป็นการลงโทษโดยการขังเดี่ยวนั้นเป็นการทรมานอย่างอารยะ ที่เงียบกริบ
มิถุนายน WSPU เริ่มพัฒนาเทคนิคในการประท้วง เมื่อสมาชิกของกลุ่มกว่าห้าแสนคนเดินขบวนไปตามถนนดาวนิ่ง (Downing Street) และใช้ก้อนหินขว้างปากระจกอาคารสำนักงานของรัฐบาล บ้านพักของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสตรี 27 คนถูกตำรวจส่งเข้าคุกที่ฮอลโลเวย์ (Holloway prison) 
ตุลาคม เธอถูกจับพร้อมกับคริสตาเบลลูกสาว จากการแจกจ่ายใบปลิว
1909  มิถุนายน แมเรียน ดันลอป (Marion Wallace Dunlop) สมาชิกของ WSPU ซึ่งถูกจับ ทำการอดข้าวประท้วง ระหว่างอยู่ในเรือนจำ เธอเป็นคนอังกฤษคนแรกที่ใช้วิธีนี้ในการประท้วง ซึ่งเมื่อวิธีนี้ถูกพิสูจน์ว่าได้ผล ก็ทำให้สมาชิกคนอื่นๆ ในเรือนจำ เริ่มทำตามบ้าง ซึ่งตอนนั้นเจ้าหน้าที่คุกของอังกฤษแก้ไขโดยใช้กำลังบังคับให้กินอาหาร , วิธีการอดอาหารประท้วงของสมาชิก WSPU ได้รับความชื่นชมจากสมาคมสหภาพเพื่อสิทธิสตรีนานาชาติ (National Union of Women’s Suffrage Societies,NUWSS) แต่ NUWSS ก็ไม่สนับสนุนวิธีการประท้วงโดยการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ ทำให้สมาชิกบางส่วนที่อยู่ในทั้งสององค์กร ลาออกไปจาก WSPU เช่น อลิซาเบธ แอนเดอสัน
ปีนี้เอ็มมีไลน์ ยังได้เดินทางทัวร์สหรัฐ ซึ่งจริงๆ เธอไม่ค่อยอยากจะไปเพราะลูกชาย แฟรงค์ (เฮนรี่)  มีอาการป่วยเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง แต่ว่าเอ็มมีไลน์ต้องการเงินมารักษาลูกจึงตัดสินใจออกเดินทาง แต่ว่าเมื่อเธอกลับมาไม่นาน แฟรงค์ ก็เสียชีวิตในวันที่ 5 มกราคม 1910 โดยที่เธอนั่งอยู่ข้างๆ เตียง เธอทำพิธีศพให้ลูกในอีก 5 วันต่อมา โดยมีผู้สนับสนุนร่วมพิธีกว่าห้าพันคน
1910 Black Friday , 18 พฤศจิกายน เอ็มมีไลน์ นำสมาชิก WSPU 300 คน ซึ่งล้วนเป็นผู้หญิงไร้อาวุธ ไปยังรัฐสภา เมื่อทราบว่ารัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแอสคิต ไม่ยอมผ่านกฏหมาย Conciliation Bill ซึ่งมอบสิทธิให้กับสตรี โดยอ้างว่ารัฐสภามีเวลาไม่เพียงพอในการพิจารณาในสมัยประชุมนี้ , ผู้ประท้วงพยายามที่จะเข้าไปยังรัฐสภา แต่ว่ากลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังทำร้ายอย่างรุนแรงด้วยอาวุธ ซึ่งสังคมอังกฤษประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ทำเกินกว่าเหตุหลังจากภาพข่าวถูกเผยแพร่ออกไป  
1912 WSPU ขยายการประท้วง โดยวิธีการทุบ พังกระจก อาคาร ร้านค้าต่างๆ ให้ขยายวงกว้างขึ้นไปอีก ซึ่งผู้นำ WSPU บางคนก็ไม่เห็นด้วย แต่ว่าคริสเตเบิ้ล ลูกสาวของเอ็มมิลี ยืนยันจะใช้วิธีการนี้ ซึ่งหลังการประท้วง ทำให้รัฐบาลสั่งจับกุมแกนนำของ WSPU ทันที ซึ่งคริสเตเบิ้ลสามารถหลบหนีไปฝรั่งเศสได้ แต่แกนนำคนอื่นอย่าง  เฟรเดอริค (Frederick Pethick-Lawrence) เอ็มมีไลน์ (Emmeline Pethick-Lawrence) ถูกจับตัวได้ และส่งตัวไปที่เรือนจำ ฮอลโลเวย์ (Holloway prison) 
ซึ่งในเรือนจำนี้ เอ็มมีไลน์ ไดทำการอดข้าวประท้วง ตามด้วยแกนนำคนอื่น ซึ่งเจ้าหน้าที่เรือนจำก็ใช้วิธีบังคับให้กินอาหารกับนักโทษ
1913 WSPU ขยายการประท้วงโดยการจุดไฟเผาอาคาร บ้านของ ส.ส. ที่คัดค้านการออกกฏหมาย แต่วิธีการนี้ก็ไม่ค่อยได้ผล เพราะสมาชิกแกนนำของ WSPU  อย่างเอ็มมีไลน์ ลอว์เรน ก็ไม่เห็นด้วย , แต่ว่าซิลเวียร์ ลูกสาวของเอ็มมีไลน์ ซึ่งสนับสนุนวิธีการนี้ ก็ได้แยกตัวออกไปจาก WSPU และพยายามผลักดันให้มีการประท้วงโดยการวางเพลิง และเธอหันไปสนับสนุนพรรคแรงงาน (Labour Party) ในการสร้างฐานคะแนนในลอนดอน , ส่วน WSPU ยังใช้วิธีการทำลายทรัพย์สินเป็นหลัก 
อีมิลี เดวิสัน (Emily Davison) สมาชิกคนหนึ่งของ WSPU ซึ่งเข้าชมการแข่งม้าเดอร์บี้ (Derby) ในวันที่ 4 มิถุนายน เธอกระโดดเข้าไปในลู่วิ่งของม้า เพื่อจะโชว์ธงประท้วงของ WSPU จนถูกม้าซึ่งเป็นของกษัตริย์จอร์จ ที่ 5 เหยียบจนบาดเจ็บ และเสียชีวิตในอีก 4 วันต่อมา
ในปีนี้รัฐสภาอังกฤษผ่านกฏหมาย Prisoner Temporary Discharge for ill Health ซึ่งอนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวนักโทษที่ทำการอดข้าวประท้วงจนสุภาพย่ำแย่ แต่เมื่อพวกเธอถูกปล่อยตัวออกไปแล้วมีสุขภาพดีขึ้น ก็จับกลับมารับโทษ กฏหมายนี้ถูกเรียกว่าเป็นกฏหมายแมวกับหนู (Cat and Mouse Act)
1914 My Own Story หนังสือชีวประวัติที่เธอเขียนถูกพิมพ์ออกมา
เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 , เอ็มมีไลน์ เห็นว่ารัฐบาลคงต้องการการสนับสนุนจากทุกๆ คนในสังคม เพื่อต่อสู้กับนาซี WSPU จึงได้หยุดการประท้วงไว้ชั่วคราว เธอบอกว่า คงไม่สามารถทำการประท้วงต่อไปได้ โดยไม่คำนึงถึงความราคาของความสูญเสีย ซึ่ง WSPU ก็คงไม่ยอมแลกมาด้วยคราคาที่สูงเกินไป ซึ่งหลังจากมีการสงบศึกกับรัฐบาลแล้ว สมาชิกของ WSPU ที่อยู่ในคุกก็ได้รับการปล่อยตัว , คริสเตเบิ้ล ที่หลบหนีไปฝรั่งเศสก็กลับประเทศได้ และบทบาทของ WSPU ก็เปลี่ยนไป ทำหน้าที่สนับสนุนประเทศในสงคราม แต่ว่า ซิลเวีย และ อเดล่า ลูกสาวของเอ็มมีไลน์ ซึ่งมีแนวคิดแบบสังคมนิยม กลับไม่เห็นด้วยกับการกระทำของแม่และ WSPU พวเธอมักปราศรัยโจมตีการทำสงคราม อ้างว่าคนจนถูกคนรวยหลอกใช้เป็นเครื่องมือ , ช่วงเวลานี้ WSPU ก็แตกเป็นอย่างน้อยสองฝ่าย 
1916 เอ็มมีไลน์เดินทางไปสหรัฐ เพื่อขอให้รัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนอังกฤษ
1917 มิถุนายน, เธอเดินทางไปรัสเซีย เพื่อเรียกร้องให้รัสเซียอย่าถอนตัวออกจากสงคราม เธอมีโอกาสพบนายกรัฐมนตรีเคเรนสกี (Alexander Kerensky) ในเดือนสิงหาคม แต่ทั้งคู่เข้ากันไม่ได้ เอ็มมีไลน์นั้นมองคอมมิวนิสต์ว่าเป็นภัยไม่ต่างกับนาซี และเธอไม่เห็นด้วยกับความคิดเรื่องชนชั้นเป็นสาเหตุของความขัดแย้งเหมือนที่คอมมิวนิสต์อ้าง ส่วนเคเรนสกี ก็บอกว่า หญิงจากอังกฤษไม่มีอะไรที่สามารถเอามาสอนหญิงรัสเซียได้ , เอ็มมีไลน์ให้สัมภาษณ์ภายหลังกับนิวยอร์คไทม์ว่า รัฐบาลเคเรนสกี เป็นความผิดผลาดของยุคสมัย รัฐบาลของเขาอาจจะทำลายความศิวิไลซ์ ได้เลย
พฤศจิกายน WSPU ถูกยุบและกลายเป็นพรรคของßสตรี Women’s Party
1918 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง พรรคของเธอส่งคริสเตเบิ้ล ลูกสาวลงชิ่งตำแหน่ง ส.ส. แต่ว่าผลการนับคะแนนเธอแพ้ผู้สมัครจากพรรคแรงงานไปด้วยคะแนนเฉียดฉิว ซึ่งไม่นานหลังจากนี้ Women’s Party ก็หมดบทบาทไป
ผลักดันร่างกฏหมาย the People Act ซึ่งจะอนุญาตให้สิทธิสตรีที่มีอายุเกิน 30 ปีในการลงคะแนนเสียง, อนุญาตให้หญิงที่หย่าล้างมีสิทธิในทรัพย์สินเท่าเทียมกับสามี 
1922 เธอย้ายบ้านไปอยู่โตรอนโต้ ในแคนานา พร้อมกับเด็กที่เธอรับมาเลี้ยงอีก 4 คน , ในแคนนาดา เธอทำงานด้านการรณรงค์ต่อต้านโรคกามโรค (Venereal disease) ให้กับ Canadian National Council for Combating Venereal Deseases
1925 เดินทางกลับอังกฤษ หลังมีปัญหาทางการเงิน 
1926 เธอเข้าพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้คนที่เคยทำงานกับเธอ เธอไม่สนับสนุนการประท้วงโดยการขว้างปาหน้าต่างบ้านเรือนอีกแล้ว แต่ยังคงสนับสนุนการพัฒนาบทบาทของสตรีและต่อต้านคอมมิวนิสต์ เหมือนเดิม
1928 พฤหัสบดี 14 มิถุนายน เสียชีวิตที่บ้านพักผู้สูงอายุ (nursing home) ในแฮมสเตียด (Hampstead) ก่อนที่เธอจะมีอายุครบ 70 ปีเพียงเดือนเดียว 
Don`t copy text!