Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Mikhail Kalinin

Mikhail Kalininwikipedia.org

มิคาอิล คาลินิน (Михаил Иванович Калинин)

เจ้าของฉายา the All-Union Headman (всесоюзным старостой) , ผู้นำแต่ในนามของโซเวียต
คาลินิน เกิดในครอบครัวเกษตรกร ในเขตทีเวอร์ (Tver) ที่หมู่บ้านไตรนิตีเหนือ (Upper Trinity) ใกล้กับมอสโคว์ ในวันที่  19 พฤศจิกายน 1875 พ่อของเขาชื่ออิวาน (Ivan Kalinovich Kalinin,1855-1907) ตอนเด็กเขาเรียนหนังสือระดับพื้นฐาน ที่โรงเรียนเซมสัตโว (Zemstvo school) ก่อนที่จะออกมาทำงานเป็นแรงงานในไร่ของเจ้าของที่ดินรายหนึ่ง
1889 เดินทางมายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก โดยทำงานในร้านของช่างทำรองเท้า
1898 เข้าร่วมกับพรรค RSDLP (Russian Social  Democratic Labor Party)
1895 เข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มแรงงานซึ่งประท้วงบ่อยครั้งทั้งแบบถูกและผิดกฏหมาย
1899 ถูกจับด้วยการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผิดกฏหมาย ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 10 เดือน และหลังจากออกจากเรือนจำแล้วได้เดินทางไปยังกรุงทิฟลิส ในจอร์เจีย ซึ่งทำให้เขาได้รู้จักกับสตาลิน  
1901 ถูกจับอีกครั้งในเดือนมีนาคม และถูกส่งไปยังเมืองทาลลิน (Tallinn) เอสธัวเนีย ปัจจุบัน ซึ่งเขาได้งานทำเป็นช่างในโรงงาน Volta (Вольта)
1903 มกราคม ถูกจับอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ถูกส่งไปยังเรือนจำในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ก่อนที่ในเดือนกรกฏาคม จะถูกส่งกลับมายังทาลลิน
1905 ได้รับเสนอชื่อเป็นหนึ่งในผู้ที่อาจจะได้รับเลือกเป้นคณะกรรมการกลางของพรรค , ปีนี้เขายังมีบทบาทเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ปฏิวัติ 1905 เช่นเดียวกับสมาชิกพรรคคนอื่น
เขาได้รู้จักกับ เยแคทเธอริน่า ลอร์เบิร์ก (Ekaterina  Ivanovna Lorberg, Екатерине Ивановне Лорберг , 1882-1960) เธอทำงานในโรงงานทอผ้า ในกรุงทาลลิน มีเชื้อสายเอสธัวเนียโดยกำเนิด  และได้แต่งงานกันในปีถัดมา พวกเขามีลูกด้วยกัน 4  คน เป็นชายและหญิงอย่างละเท่าๆ กัน ชื่อ วาเลเรียน อเล็กซานเดอร์ จูเรีย และลิเดีย
1906 เดินทางเข้าร่วมประชุมพรรค RSDLP ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสวีเดน
1916 ถูกจับเพราะการเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง ซึ่งถูกตัดสินเนรเทศไปยังไซบีเรียตะวันออก แต่ว่าเขาสามารถหลบหนีมาได้ระหว่างทางและกลับมาหลบซ่อน และทำงานให้พรรคในเซนต์ปีเตอร์เบิร์กต่อ
1917 การปฏิวัติกุมภาพันธ์เขาเป็นหนึ่งในแกนนำที่ร่วมกันบุกยึดสถานีฟินแลนด์ (Finland Station) สถานีรถไฟสำคัญในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งคาลินินยังคงมีบทบาทในการพยายามปฏิวัติตุลาคม เขาได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งเขาได้เปลี่ยนชื่อเมืองไปเป็นเปโตรกราด
1919 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธาน คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ( All-Russian Central Executive Committee ) ซึ่งการที่เขาได้รับการยอมรับมาเป็นประธานของคณะกรรมการกลางเป็นเพราะความเห็นของเลนิน ที่บอกว่า “สหายท่านนี้, ทำงานให้กับพรรคมานานกว่า 20 ปี เขามีปูมหลังเป็นจากครอบครัวชาวนาในทีเวอร์ มีความใกล้ชิดกับเกษตรกรเป็นอย่างดี , อย่างไรก็ดีการทำงานในเปโตรกลาด ได้พิสูจน์แล้วว่าเขามีความสามารถที่จะทำงานได้หลากหลายกว้างขวางร่วมกับแรงงาน”  คาลินิน จึงถูกเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของทั้งเกษตรกรและกรรมกร
ตำแหน่งที่เขาได้รับ เปรียบเสมือนผู้นำประเทศ ทว่าคาลินินกับไม่ได้มีอำนาจอย่างแท้จริง
1921 24 กุมภาพันธ์ เกิดการลุกฮือประท้วงครั้งใหญ่ บนเกาะครอนสแตดท์ (Kronstadt Uprising) ซึ่งเป็นส่วนหนึี่งของเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก แต่เป็นเกาะเดียวในอ่าวฟินแลนด์  มีประชาชนกว่า 15,000 คนที่เดินขบวนประท้วงพรรคบอลเชวิค นำโดยสเตปาน เปตริเชนโก (Stepan Petrichenko) , ทหารเรือ โดยใช้สโลแกน “Power to the Soviets, not the parties! ( Власть Советам, а не партиям!)”  ซึ่งคาลินิน ได้เดินทางมายังเกาะครอนสแตดท์  ในวันที่ 1 มีนาคม พร้อมด้วยภรรยา เพื่อพยายามเจรจากับผู้ชุมนุมให้สงบลง แต่ว่าได้มีผู้ประท้วงคนหนึ่งเดินเข้ามาฉีกแถลงการณ์ที่เขาจะอ่าน ทำให้เกิดความวุ่นวายและคาลินินต้องหนีออกมาจากเกาะ แต่ว่ามีนายทหารบางคนและเจ้าหน้าทีี่ถูกผู้ประท้วงจับขังคุก เป็นเหตุการณ์ที่ฝ่ายซ้ายลุกขึ้นมาต่อต้านพรรคบอลเชวิค ครั้งใหญ่ที่สุด จนสุดท้ายโซเวียต โดยทร็อตสกี (Leon Trotsky) และ มิคาอิล ตุคาเชฟสกี (Mikhail Tukhachevsky) ตัดสินใจใช้กำลังทหารกว่า 6 หมื่นนายเข้าโจมตี ซึ่งเป็นผลให้ทั้งสองฝ่ายสูญเสียอย่างหนัก ฝ่ายต่อต้านตายราวหนึ่งถึงสองพันคน ในขณะที่ทหารของฝ่ายบอลเชวิค ตายไปกว่าพันห้าร้อยนาย ซึ่งแม้ว่าบอลเชวิคเป็นฝ่ายชนะ แต่การประท้วงครั้งใหญ่นี้ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เลนินต้องผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจที่เข้มงวด และเปลี่ยนไปใช้ NEP (New Economic Policy) แทน  และแน่นอนว่าส่งผลให้สถานะผู้นำของคาลินิน อ่อนแอลงไปด้วย , หลังจากนั้นปี 1921-1922 เขายังต้องเผชิญปัญหาการเกษตรตกต่ำ และเกิดการขาดแคลนอาหารในแถบลุ่มน้ำโวลก้าตามมาอีก ทำให้ต้องออกเดินทางไปเยี่ยมภูมิภาคแถบนี้บ่อยครั้ง
1922 ธันวาคม ได้รับเลือกให้เป็นประธานของสภาเปรสซิเดียม
1924 หลังการเสียชีวิตของเลนิน คาลินิน เป็นแกนนำสำคัญคนหนึ่งที่สนับสนุนสตาลินให้มีอำนาจ
1926 1 มกราคม ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในโพลิตบุโร ของพรรค ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งจนกระทั้งเสียชีวิต
1938 ช่วง Great Purge , 25 ตุลาคม เยแคทเธอริน่า ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี จากการที่เธอตำหนิสตาลินว่าเป็นเผด็จการที่ซาดิสต์ สังหารคนบริสุทธิ์นับล้านคน c]t , เธอถูกส่งไปยังค่ายใช้แรงงาน แต่ในเวลาไม่นานสุขภาพของเธอ ซึ่งอายุ 60 กว่าปีแล้วนั้นก็ทรุดโทรมอย่างหนัก และกลายเป็นคนพิการ ซึ่งที่สุดแล้วเธอต้องยอมเขียนจดหมายอ้อนวอนไปยังสตาลินและยอมรับว่าเธอได้กระทำผิด ในขณะที่คาลินินเอง ไม่เคยยืนมือเข้าช่วยเหลือเธอเลย ตัวเขาเองพยายามอยู่อย่างเงียบๆ ไม่มีปากมีเสียงในช่วงเวลาดังกล่าว
1945 เยแคทเธอริน่า ได้รับการปล่อยตัว ในเดือนมิถุนายน
1946 คาลินิน เสียชีวิต ขณะอายุ 70 ปี  ในวันที่  3 มิถุนายน , ศพของเขาถูกประกอบพิธีแบบรัฐพิธี และถูกฝังที่จุด Necropolis ข้างกำแพงเครมลิน
Don`t copy text!