Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Henrietta Lacks

เฮนเรียตต้า แล็คส์

เจ้าของเซลล์อมตะ เฮล่า (HeLa cell)
เฮนเรียตต้า ชื่อตอนเกิดของเธอคือ ลอเร็ตต้า เพลียสันต์ (Loretta Pleasant) เธอเกิดในเมืองรัวโนค์ (Roanoke) รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา พ่อของเธอคือ จอห์น เพลียสันต์ (John Pleasant, 1881-1969) ส่วนแม่ชื่อว่าอลิซ่า (Eliza,1886-1924)  
อลิซ่า เสียชีวิตในปี 1924 หลังจากเธอคลอดลูกคนที่ 10 ของเธอได้ไม่ได้ ทำให้จอห์น ซึ่งไม่สามารถจะเลี้ยงดูลูกทั้งหมดเพียงลำพังได้ ได้นำเอาลูกๆ ของเขา ไปกระจายฝากให้ญาติของเขาหลายคนช่วยอุปการะ โดยที่เฮนเรียตต้า ได้ถูกเลี้ยงดูโดยปู่ของเธอ ชื่อ ทอมมี่ แล็คส์ (Tommy Lacks)  ในเมืองโคลเวอร์ เวอร์จิเนีย
ทางครอบครัวของเธอเองไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมชื่อ ลอเร็ตต้า ของเธอ ถึงถูกเปลี่ยนเป็น เฮนเรียตต้า
1941 เฮนเรียตต้า แต่งงานญาติของเธอเอง ชื่อว่า เดวิด (David Lacks) ในวันที่ 10 เมษายน ตอนนั้นเธออายุ 20 ปี ขณะที่เดวิด ซึ่งที่บ้านของพวกเขาเรียกกันว่า เดย์ (Day) อายุ 24 ปี ทั้งคู่เติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เล็ก เพราะว่าเดวิดก็อาศัยอยู่ในบ้านของปู่ทอมมี่ มาตั้งแต่ตอนที่เธอย้ายมาอาศัย , เฮนเรียนต้า นั้นให้กำเนิดลูกคนแรกตอนที่เธออายุเพียง 14 ปี (มีลูกสองคน ก่อนที่จะแต่งงานกัน)  ซึ่งหลังจากแต่งงานแล้ว ช่วงปลายปี พวกเขาได้ตัดสินใจที่จะย้ายออกจากไร่ยาสูบที่ทำอยู่ เพื่อไปทำงานในโรงงานหลอมเหล็ก Sparrows Point ในแมรี่แลนด์ ช่วงนั้นสงครามโลกเริ่มต้นขึ้นและธุรกิจเหล็กก็บูมอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนผิวดำจะย้ายไปทำงานในโรงงานแห่งนี้
เดวิด ซื้อบ้านหลังหนึ่งอยู่บนถนนนิว พิตเบิร์ก (New Pittsburgh ave.) ในบัลติมอร์ แมรี่แลนด์ ซึ่งเป็นชุมชนที่คนอเมริกนแอฟริกันอาศัยอยู่กันมาก 
1951 เฮนเรียตต้า ไปโรงพยาบาลจอห์น ฮอพกิ้น (Johns Hopkins hospital) ครั้งแรกในวันที่ 29 มกราคม หลังจากรู้สึกว่าในท้องตัวเองมีก้อนอะไรอยู่ ซึ่งจอห์น ฮอพกิ้นเป็นโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวที่ยอมรักษาให้คนผิวดำ ตอนแรกเธอและญาติคิดว่าตัวเองอาจจะท้อง แต่ว่าเมื่อผลตรวจออกมาเป็นลบ เธอจึงถูกส่งมายังโรงพยาบาลนี้เพื่อตรวจ
Howard Jones เป็นแพทย์หญิงที่ทำการตรวจเธอในวันนั้น   เธอได้ตัดเอาเนื้อเยื้อตัวอย่างจากปากมดลูก (cervix) ส่งให้แผนกพยาธิวิทยาตรวจสอบ ซึ่งได้ผลออกมาว่าเธอมีอาการป่วยด้วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น
เฮนเรียตต้า จึงถูกรักษาด้วยการใช้หลอดเรเดียม ใส่เข้าไปบริเวณที่เป็นมะเร็ง นานหลายวันกว่าจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน แต่หลังจากนั้นก็ต้องกลับมาฉายแสงอีกเป็นระยะ ในระหว่างที่รักษามะเร็งอยู่นี้เอง ทางโรงพยาบาลได้มีการตัดตัวอย่างเนื้อเยื้อมดลูกของเธอออกไป ทั้งส่วนที่เป็นมะเร็งและส่วนที่ดี โดยที่เธอไม่รู้หรือให้ความยินยอม 
ตัวอย่างเซลล์จากมดลูกของเธอ ถูกส่งไปให้ ดร. จอร์จ อ็อตโต้ เกย์ (George Otto Gey) 
8 สิงหาคม เธอกลับเข้าโรงพยาบาลตามเวลานัด แต่ว่ามีอาการปวดมาก ทำให้ต้องนอนอยู่โรงพยาบาล โดยได้รับการรักษาด้วยยาและการถ่ายเลือด 
4 ตุลาคม เสียชีวิตด้วยอาการไตวาย เวลาเที่ยงครึ่ง ขณะอายุ 31 ปี จากการชันสูตรพบว่ามะเร็งกระจายไปจนทั่วร่างของเธอ
เธอถูกฝังในสุสานของครอบครัว ในโคลเวอร์ เวอร์จิเนีย
เฮนเรียตต้า มีลูกด้วยกันกับเดวิด 5 คน คือ ลอว์เรนซ์ (Lawrence,1935) เอลซี (Elsie,1939-1955) เดวิด จูเนียร์ (David Jr. 1947) เดโบราห์ (Deborah,1949-2009) และ โจเซฟ (Joseph,1950)
เซลล์มดลูกของเฮนเรียตต้า ที่ถูกส่งไปให้ ดร.จอร์จ เกย์ นั้นคือต้นกำเนิดของเซลล์อมตะเฮร่า ดร. เกย์ พบว่าเซลล์ของเฮนเรียตต้า ไม่เหมือนของคนอื่น คือเมื่อนำไปเพาะเลี้ยงในจานทดลองแล้ว เซลล์ของคนทั่วไปจะตายไปในไม่กี่วัน แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ได้พยายามทดลองเพาะเลี้ยงเซลล์นานหลายสิบปีก่อนหน้าแล้วแต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ จนกระทั้งการค้นพบของ ดร.เกย์ ที่เขาตั้งชื่อเซลล์ตัวอย่างนี้ว่า He La ตามชื่อของเฮเรียตต้า  เซลล์เฮร่านี้ สามารถสร้างตัวเองได้ใหม่ไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่มีการให้สารอาหาร ซึ่งเท่ากับว่ามันกลายเป็นอมตะ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการทดลองทางการแพทย์และชีวะ
ซึ่งเมื่อข่าวการค้นพบเซลล์เฮร่า แพร่ออกไปหลังการเสียชีวิตของเฮนเรียตต้าไม่นาน ก็มีคำสั่งซื้อเซลล์ของเธอมามากมาย  เช่น ดร.โจนาส ซอล์ก (Jonas Salk) ได้นำเอาเฮร่า เซลล์ ไปใช้ในการวิจัยวัคซีนโรคโปลิโอ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการผลิตเซลล์เฮร่า เพื่ออุตสาหกรรมทางการแพทย์
และตราบจนปัจจุบัน เซลล์เฮร่า ยังถูกเพาะเลี้ยง และนำไปใช้ในการวิจัยทั้งโรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคพาคินสัน พิษวิทยา หรือเรียกว่าเกือบทุกสาขาที่เกี่ยวกับแพทย์และชีวะ มีสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเซลล์เฮร่ากว่า 11,000 ชิ้น 
นับตั้งแต่เฮเรียตต้า เสียชีวิตในปี 1951  ด้วยอายุ 31 ปี แต่เซลล์เฮร่า ของเธอกลับมีอายุยาวนาน ภายนอกร่างกายนานกว่าตัวเฮเรียตต้าเองเสียอีก และประมาณกันว่าน่าจะมีการเพาะเลี้ยงเซลล์เฮร่า นี้มากกว่า 50 ตัน ซึ่งหนักกว่าตัวเธอเองหลายร้อยเท่าแล้ว  และห้องแล็บที่มีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วโลกน่าจะมีเซลล์ของเธอเก็บไว้
1966 รัฐจอร์เจีย, Moresouse School of Medicine ในแอ็ตแลนต้า , ประกาศสดุดี เฮเรียตต้า ที่เสียสละเพื่อวงการแพทย์
2011 มหาวิทยาลัยมอร์แกน มอบปริญญาดุษฏีกิตติมาศักดิ์แก่เฮเรียตต้า
อย่างไรก็ตาม เฮนเรียตต้า ไม่เคยให้ความเห็นชอบให้มีการนำเซลล์ของเธอไปใช้ ที่สำคัญเธอไม่ได้รับรู้เลยว่ามีการนำไปใช้ หลังจากเธอตายสามีของเธอเคยถูกขอให้เซ็นต์เอกสารยินยอมแต่เขาก็ปฏิเสธ แต่ทุกวันนี้เซลล์ของเธอยังถูกขายในราคาหลอดละหลายสิบเหรียญ 
เฮนเรียตต้า ถูกเรียกในชื่ออื่นๆ อย่าง Hele Lane

Don`t copy text!