Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Victory Banner over the Reichstag

29 เมษายน  1945 ทหารโซเวียต พยายามเข้ายึดอาคารรัฐสภา ไรช์สแท็ก ของนาซี ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งวันนั้นยังคงมีทหารเยอรมันกว่าพันนายยังคงต่อสู้อยู่ ภายใน … มิคาอิล เยโกรอฟ , และ เมลิตัน กานตาเรีย สองนายทหารหนุ่มผู้เป็นสัญลักษณ์ชัยชนะของโซเวียตเหนือนาซีเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาทั้งสองเป็นผู้ชูธงชาติโซเวียต เหนือตึกไรช์สแท็ก (Reichstag) ในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 1945 และรูปถ่ายในวันนั้นกลายเป็นสัญลักษณ์ และภาพที่ถูกจดจำได้มากที่สุดรูปหนึ่งของโลก

เมลิตัน กานตาเรีย (Мулитон Варламович Кантария , Meliton Kantaria)

เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1920 ที่เมืองเจวาริ (Jvari) ในครอบครัวเกษตรกรในจอร์เจีย เขาทำงานในนารวมมาจนกระทั้งเข้าเป็นทหารกับกองทัพแดงในปี 1940 และปีต่อมาก็เกิดสงครามโลก เขาทำงานเป็นหน่วยข่าวกรองให้กับหน่วยทหาร

ภายหลังสงคราม กานตาเรีย เดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านเกิด ทำงานในไร่ ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่เมืองสุคุมิ (Sukhumi) เมืองหลวงของประเทศอับคาเซีย โดยทำงานเป็นผู้จัดการร้านค้า

1947   เขาเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปี และได้เป็นสมาชิกสภาในเขตปกครองตัวเองอับคาเซีย ในสมัยนั้น 1993 แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างอับคาเซีย และจอร์เจีย ทำให้เขาย้ายไปยังกรุงทบิลิซี ก่อนที่สุดท้ายจะย้ายมามอสโคว์ แต่ว่าสองเดือนหลังจากมายังมอสโคว์ เขาก็เสียชีวิต ในวันที่ 27 ธันวาคม 1993 ร่างของเขาถูกนำกลับไปฝังที่บ้านเกิดในเจวาริ

มิคาอิล เยโกรอฟ (Михаил Алексеевич Егоров, Mikhail Yegorov)

เกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตสโมเลนส์ก เขาจบการศึกษาพื้นฐานและทำงานอยู่ในฟาร์มเช่นกัน ซึ่งเมืองที่เขาอยู่ถูกนาซีบุกมายึดไว้ ทำให้เขาเข้าเป็นทหารในเดือนธันวาคม ปี 1944เยโกรอฟ หลังสงครามเข้าทำงานให้กับโรงงานผลิตนม และเสียชีวิตในวันที่ 20 มิถุนายน 1975 จากอุบัติเหตุทางรถยนต์

พันโท, อเล็กซี เบเรสต์ (Алексей Прокопьевич Берест, Alexei Berest)

เกิดเมื่อ 9 มีนาคม 1921 ในยูเครน เขากลายเป็นเด็กกำพร้าตั้งแต่อายุ 11 ปี หลังจากพ่อแม่เสียชีวิตแล้ว พี่สาวเป็นคนดูแลครอบครัว ตอนอายุ 16  ปี ทำงานเป็นคนขับรถไถ จนกระทั้งเขาสมัครเข้าเป็นทหารอาสาในกองทัพแดงตั้งแต่ปี 1939 ในสงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์ และเมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่  2 เขาก็มีหน้าที่ช่วยในการควบคุมกองทหาร หน่วยไรเฟิ้ล 756 แล้วหลังสงครามเขาเลิกทำงานกับกองทัพในปี 1948 และเดินทางไปอยู่ในเขตรอสตอฟ ทำงานในแผนกภาพยนต์1953 ถูกจับในข้อหายักยอกทรัพย์ และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 10 ปี แต่ต่อมาได้รับการลดโทษลงครึ่งหนึ่งหลังจากพ้นโทษได้ทำงานในโรงงาน Rostelmash โรงงานผลิตเครีื่องจักรการเกษตร โดยทำงานเป็นแรงงานทั่วไปเขาเสียชีวิตในวันที่ 3 พฤศจิกายน 1970 เพราะกระโดดไปช่วยเด็กชายคนหนึ่งที่ขึ้นไปเล่นบนรางรถไฟ ตัวเขาได้รับบาดเจ็บจนเสียชีวิตในไม่กี่ชั่วโมงถัดมาวันเดียวกันเขาได้รับเหรียญ Hero of Ukraine ในปี 2005 เพื่อเป็นเกียรติย้อนหลัง

มิคาอิล เยโกรอฟ , เมลิตัน กานตาเรีย
wikipedia.org

ภาพถ่าย Знамя Победы над рейхстагом (Victory Banner over the Reichstag)

ตัวอักษรบนธง

150 стр. ордена Кутузова II ст. идрицк. див. 79 C.К. 3 У. А. 1 Б. Ф.

(150-я стрелковая ордена Кутузова II степени идрицкая дивизия 79-го стрелкового корпуса 3-й ударной армии 1-го Белорусского фронта)

150th Rifle, Order of Kutuzov 2nd class, ‘Idritskaya’ Division, 79th Rifle Corps, 3rd Attack Army, 1st Byelorussian Front.


ในปี 1945 ขณะที่เข้าไปยังเบอร์ลินนั้น มิคาอิล และเมลิตัน  สังกัดหน่วยปืนไรเฟิ้ล ที่ 756 กองทัพที่ 3 ประจำแนวหน้าในเบลารุส (756th Rifle regiment,150th Rifle Division,3rd Army of 1st Byolorussian Front) จากการที่ถ่ายภาพธงชาติโซเวียตนั้น ทำให้ พวกขาทั้งหมดได้รับเหรียญ Hero of the Soviet Union ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1946 แต่ว่าพันโท เบเรสต์ เพียงคนเดียว ที่ไม่ได้เข้าพิธีมอบรางวัลโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีข้อแย้งว่า จริงๆ แล้ว มีการชูธงเหนืออาคารรัฐสภาครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน นั้น ก่อนโดย พันโท ราคิมซาน กอชการ์เบฟ (Rakhimzhan Koshkarbaev) กับพลทหาร กรีกอรี บุลาตอฟ (Georgy Bulatov)นอกจากนั้นวันเดียวกันเวลา 10.40 น. กลุ่มทหารห้านาย นำโดย วลาดิมีร์ มากอฟ (Vladimir Makom) ก็ขึ้นไปชูธงชาติโซเวียต โดยในขณะนั้นยังมีทหารนาซีในอาคารที่ต่อสู้อยู่ แต่ทหารโซเวียตกลุ่มนี้ยังพยายามขึ้นไปบนโดมของตึก และจ่า มิคาอิล มินิน (Sergeant, Mikhail Minin) เป็นคนปีนไปยังยอดแท่นเสา เพื่อปักธงลงในไปร่อง
ในขณะที่ เยโอรอฟ และกานตาเรีย น่าจะแค่ขึ้นไปที่หลังคาอาคารดังกล่าว เพื่อชูธงเป็นสัญลักษณ์ในการจู่โจม ซึ่งหมายความว่าเขาน่าจะขึ้นไปสะบัดธงอยู่ในวันที่ 1 พฤษภาคม มากกว่าและปรากฏว่ากลุ่มของวลาดิมีร์ มากอฟ ก็ถูกเสนอชื่อเพื่อรับรางวัลฮีโร่แห่งสหภาพโซเวียตด้วย แต่ปรากฏว่ากลับไปรับรางวัลที่มีศักดิ์ศรีน้อยกว่า คือ the Order of the Red Banner แทนและกลายเป็นว่า Hero of the Soviet Union พร้อมดาวทองคำ ถูกมอบให้กับเยโกรอฟ และกานดาเรีย แทน ซึ่งความเป็นจริง เยโกรอฟ และกานดาเรีย ทั้งคู่ ไม่เคยอ้างว่าเป็นคนที่เอาธงไปชูเหนืออาคารรัฐสภาไรช์สแท็กคนแรกเลย เหตุผลที่โซเวียตเลือกให้เยโกรอฟและกานดาเรีย เพราะคนหนึ่งเป็นคนรัสเซีย ในขณะที่กานดาเรีย มีเชื้อสายจอร์เจีย เช่นเดียวกับสตาลิน
ในขณะที่ พันโทอเล็กซี เบเรสต์ เกือบจะถูกลบออกไปจากตำรา แต่ในเหตุการณ์วันนั้นเขามีบทบาทสำคัญ เพราะค่ำวันนี้น กองทัพที่พยายามจะเข้ายึดอาคารไรช์สแต็ก แต่ว่าด้วยสภาพท้องฟ้าที่มืดลงแล้ว ประกอบกับไม่มีเครื่องให้แสงไป จึงได้ส่งสั่งให้นายทหารทั้งสาม ให้เอาธงขึ้นไปปักบนยอดโดมของอาคารเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ง่ายที่สุด พันโทอเล็กซี เป็นคนที่เสนอตัวเองเพื่อช่วยกานดาเรียและเยโกรอฟ ในภาระกิจนั้น ว่ากันว่าเหตุผลที่เบเรสต์ ไม่ได้รับรางวัลในนาทีสุดท้าย นั้นเพราะผู้บัญชาการกองทัพ จอร์จี ซุคอฟ (Georgy Zhukov) ไม่ชอบเขาถึงตัดชื่อเขาออก

ภาพถ่ายของ Yevgeny Khaldey
wikipedia.org

ส่วนทหารเยอรมันที่ต่อสู้อยู่ภายในอาคารรัฐสภานั้น ยอมวางอาวุธในเช้าวันที่ 2 พฤษภาคม 1945 จากนั้นช่างภาพจากสำนักข่าวอินตาร์ทาส์ส เยฟกินี คาลเดย์ (Yevgeny Khaldey, Евгения Халдея) ได้เข้าไปถ่ายภาพในวันนั้น และได้ขึ้นไปยังหลังคาของรัฐสภาด้วย ซึ่งเขาก็ได้ถ่ายภาพธงโซเวียตเหนือรัฐสภาไรซ์สแต็ก ซึ่งกลายเป็นภาพสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่โด่งดัง ตอนนั้นเขาขึ้นไปบนหลักคาก็เห็นธงหลายพื้นที่อยู่บนนั้นแล้ว เขาขอให้นายทหาร อเล็กซี โควาเลฟ (Aleksey Kovalev) นายทหารอับดุลาคิม อีสมิลอฟ (Abdulakhim Ismailov) และนายทหาร ลีโอนิค กอรีเชฟ (Leonid Gorychev) ช่วยเขาในการถ่ายภาพ

Don`t copy text!