Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Nadezhda Krupskaya

 

นาเดซดา คอนสแตนตินนอฟน่า ครุปสกาย่า (Надежда Константиновна Крупская) ,( 26 กุมภาพันธ์ 1869– 27 กุมภาพันธ์ 1939)


 
นาเดซดา ครุปสภาย่า (นาเดีย) ภรรยาของวลาดิมีร์ เลนิน เธอเกิดในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ในครอบครัวที่มีภูมิหลังดี พ่อของเธอเป็นนายทหาร ชื่อ คอนสแตนติน ครุปสกี (Константин Игнатьевич Крупский ,Konstantin Krupski, 1838-1883)  ส่วนแม่ชื่อ อลิซาเบธ ตีสโตรว่า (Елизавета Васильевна Тистрова) เป็นลูกของเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง อลิซาเบธสมัครเข้าเรียนที่สถาบันเบสตุซเชฟคอร์เสส (Bestuzhev Courses) จากนั้นอลิซาเบธได้ทำงานเป็นครูสอนพิเศษให้กับเด็กนักเรียนตามบ้านของเศรษฐี ก่อนที่จะได้แต่งงานกับคอนสแตนติน ซึ่งคอนสแตนตินเองได้เข้าไปเกี่ยวพันธ์กับขบวนการปฏิวัติในโปแลนด์ ซึ่งต่อมาเขาได้ถูกปลดออกจากราชการ ในข้อหาไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการที่ไม่ใช่ธุระของรัสเซีย เขาจึงได้มาทำงานในโรงงาน ก่อนที่จะได้รับการรับเข้าราชการใหม่ในปั่นปลายของชีวิต แต่ว่าคอนสแตนติน เสียชีวิตตอนที่นาเดียอายุได้เพียง 14 ปีเท่านั้น ตอนประถมเธอเรียนที่โรงเรียนเอกชน ในเซนต์ปีเดอร์เบิร์ก โรงเรียนชื่อว่า Princess Obolensky เธอสามารถเรียนจบ ม.ปลาย ด้วยรางวัลเหรียญทอง

 1889 นาเดีย สมัครเข้าเรียนในสถาบันเบสตุซเชฟเวซคอร์เสส ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก โรงเรียนเดียวกับแม่ของเธอ แต่ว่าเธอเรียนได้เพียงปีเดียว ในปี 1890 เธอลาออก  ก่อนที่จะเข้าร่วมกับพวกมาร์กซิส และมาทำงานเป็นครู ทุ่มเทให้กับการศึกษาลัทธิคอมมิวนิสต์

1894 เธอได้พบ วลาดิมีร์ อุลิยานอฟ (เลนิน) และได้เข้าร่วมกับ League of Struggle for the Liberation of the working class (Союза борьбы за освобождение рабочего класса) 1896 นาเดียและเลนินถูกจับและถูกเนรเทศ เธอถูกส่งตัวไปที่ จังหวัดยูฟา (Ufa) เป็นเวลาเจ็ดเดือน ก่อนที่จะถูกส่งตัวไปไซบีเรียน ในหมู่บ้าน ชุชา (Shusha) ซึ่งเป็นเมืองที่ทั้งคู่ได้แต่งงานกัน

1898 เลนิน เข้าเป็นสมาชิกพรรคแรงงานสังคมนิยมประชาธิปไตย RSDLP (Russia Social Democrat Labour Party) 

1901 เธอได้หนีออกมาอยู่ที่เยอรมัน และทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ อิซกรา (Iskra) และเตรียมการให้มีการประชุมพรรคครั้งที่สามในลอนดอน

1905 นาเดียและเลนิน เดินทางกลับมายังรัสเซีย เธอทำงานเป็นเลขานุการให้คณะกรรมการกลางของพรรค แต่ว่าในปีนี้เกิดเหตุการณ์ลุกฮือประท้วงของแรงงานทั่วประเทศ แม้จะจบด้วยความพ่ายแพ้ แต่พระเจ้าซาร์ก็ต้องเร่งในการปฏิรูปประเทศ ซึ่งในเวลาต่อมาจึ่งมีการตั้งรัฐสภาและพระราชทานรัฐธรรมนูญ นาเดียต้องหลบหนีออกจากรัสเซียอีกครั้ง โดยไปทำงานเป็นครูในฝรั่งเศส

1917 เดือนเมษา นาเดียและเลนินเดินทางกลับเข้ารัสเซียอีกครั้ง และเลนินได้เตรียมการเพื่อการปฏิวัติ หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมของบอลเชวิค นาเดียได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยของประธานคณะกรรมการการศึกษา อนาโตเลีย ลูนาชาสกี (Anatoliy Lunacharskiy) 

เลนินมีอาการป่วยมาตั้งแต่ปี 1922 ในช่วงแรกๆ มีการปวดหัวบ่อย ความจำเลอะเลือน ดร. Klemperer ได้เคยวินิจฉัยว่าเป็นผลของกระสุนตะกัวที่ฝังอยู่ในตัวเลนิน ซึ่งเขาได้รับบาดเจ็บในปี 1918 , เดือนเมษายน 1922 เลนินได้เข้ารับการผ่าตัดเอากระสุนที่คอออกมาได้นัดหนึ่ง แต่ว่าอาการของเขาไม่ดีขึ้น 

ก่อนเสียชีวิตเลนินมีความกังวลใจเรื่องอนาคตของประเทศ และพรรคโดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างสตาลิน กับทร๊อตสกี  ในบันทึกของเลนิน มักจะกล่าวถึงสตาลินว่าเป็นคนหยาบและคงไม่สามารถทำให้พรรคมีความสามัคคีกันได้ ในขณะที่มองทร๊อตสกีว่าเป็นผู้ร่วมอุดมการณ์มาตั้งแต่ต้น ร่วมปฏิวัติและก็สร้างพรรค แต่เลนินเองก็ต้องการสายเลือดใหม่ๆ ให้เข้ามาในพรรคมาขึ้นโดยเฉพาะคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองมาก่อน เพื่อจะได้ขจัดปัญหาคอร์รัปชั่น

1924 เลนินเสียชีวิต เมื่อ 21 มกราคม ตอน 6.50 น. ด้วยวัย 54 ปี ในขณะที่นาเดียทำหน้าที่ดูแลอยู่เคียงข้างตลอดเวลาที่เขาป่วย แม้ว่าจะมีทฤษฏีว่าสตาลินเป็นคนวางยาฆ่าเลนิน แต่นาเดียซึ่งอยู่เคียงข้างและไม่ชอบสตาลินก็น่าจะรู้หรือพูดอะไรบ้างถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ซึ่งมีำคนบอกว่าเลนินเอง เป็นคนเรียกร้องขอยาพิษ เพราะว่าอาการป่วยที่เจ็บปวด แต่นาเดียไม่กล้า สตาลินซึ่งได้รับมอบหมายจากพรรคให้ดูแลการรักษา จึงทำหน้าที่นี้เองเป็นการการุณฆาต 

นาเดียเอง ต้องการให้มีการประกอบพิธีทางศาสนาและเผาร่างของเลนิน แต่ว่าเธอไม่อาจขัดพรรคได้
ปีเดียวกันนี้นาเดียได้ตำแหน่งในคณะกรรมการกลางแห่งโซเวียต (central committee)  และการประชุมพรรคครั้งที่ 14 นาเดียให้การสนับสนุน G.E. Zinoviev และ L.B. Kamenev ในการโจมตีสตาลิน แต่ว่าภายหลังยอมรับว่าการกระทำครั้งนี้ผิดผลาด

 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการด้านการศึกษาตั้งแต่ปี 1929-1939 นาเดียมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง ยุวคอมมิวนิสต์ (Komsonol) และลูกเสือ ซึ่งช่วยวางรากฐานแนวคิดเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ให้กับเยาวชน เธอมีส่วนในการวางระบบการศึกษาให้กับโซเวียต โดยโรงเรียนต้องไม่เป็นเฉพาะสถานที่สำหรับสอบความรู้เท่านั้น แต่ต้องเป็นศูนย์กลางการสร้างคอมมิวนิสต์ она должна быть центром коммунистического воспитания, Schools should not only teach, it must be the center of communist indoctrination นอกจากนั้นยังริเริ่มให้เอาระบบเซ้นเซอร์สื่อมาใช้ด้วย

1927 เป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารกลาง (Central Executive Committee) และสภาสูงแห่งโซเวียต  Supreme Soviet

1931 เธอได้เป็นสมาชิกกิตติมาศักดิ์ของสถาบัันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย (Russian Academy of Science) เธอได้รับรางวัล Order of Lenin และ Red Banner of Labor

1939 เธอเสียชีวิตขณะมีอายุ 70 ปี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ในเมืองอาค์แองเจิ้ล (Arkhangelsk) ในวันนั้นได้มีการจัดงานเลี้ยงปีที่เจ็ดสิบของเธอ เพื่อนๆ ต่างมาร่วมในงานฉลอง สตาลินเองก็ส่งของขวัญมาให้ แต่ว่าพอตกกลางคืนเธอก็เสียชีวิต  ร่างของเธอถูกนำไปประกอบพิธีที่จตุรัสแดง 


ผลงานเขียนบางส่วนของ นาเดซดา ครุปสกาย่า
 

  • 1898—1916: Letters to V.I. Lenin’s Mother and Sisters Maria & Anna
  • [From Lenin’s Collected Works, Volume 37 Appendices]
  • 1925: The Lessons of October
  • 1925: Young Pioneers: How Women Can Help
  • 1933: How Lenin Studied Marx
  • 1933: Reminiscences of Lenin
  • 1933: Preface to “The Emancipation of Women” from The Writings of V.I. Lenin
  • 1924-36: On Communist Ethics
Don`t copy text!