Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

1812 : sixth coalition against France

1812: Sixth anti-Napoleon coalition

Tags: History, War of 1812, World, Russia Ekaterina Gorokhova 1.09.2010, 13:28 We continue our new program series ahead of the bicentenary of Russia’s victory over Napoleon. Today’s story is about the sixth anti-Napoleon coalition. France’s aggressive ambitions as it strove for control over western and central Europe in the late 18th-early 19th centuries complicated the political situation on the continent, giving birth to anti-French coalitions, of which seven were formed from 1799 to 1813, nearly each of them involving Russia. The sixth coalition emerged after Napoleon’s Grande Armee suffered a crushing defeat during the Russian campaign of 1812. The beginning of 1813 saw Russia fighting Napoleon in central Europe all alone before being joined by Prussia in March the same year, and later by Britain, Austria and Sweden, and still later by the German states of Wurttemberg and Bavaria after the Battle of Nations in October. Читать далее Source: Voice of Russia.

ความกระหายอำนาจของฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ต้นศตวรรษที่ 19 ก่อให้เกิดกลุ่มต่อต้านฝรั่งเศสขึ้นมา 7 ครั้งในช่วงปี 1799 ถึงปี 1803 เกือบทุกครั้งมีรัสเซียไปเกียวข้อง และในครั้งที่ 6 นี้ เกิดขึ้นเพราะกองทัพหลวงของนโปเลียน พ่ายแพ้ให้กับรัสเซียในปี 1812 และพอต้นปี 1813 รัสเซียก็เริ่มบุกเข้าไปรบกับนโปเลียนยังยุโรปตอนกลาง รัสเซียสู้โดยโดดเดี่ยว ก่อนที่ปรัสเซีย จะเข้ามาช่วยในเดือนมีนาคม ตามด้วยอังกฤษ ออสเตรีย และสวีเดน ส่วนเยอรมัน ในส่วนของรัฐวูร์ตเตมเบิร์ก(Wurttemberg) และบาวาเรีย (Bavaria) ได้เข้าร่วมสงครามด้วยในเดือนตุลาคม 13 มกราคม 1813 กองทัพรัสเซีย ควบคุมโดยจอมพล มิคาอิล คุตุซอฟ (Field Marshal Mikhail Kutuzoa) เดินทางข้ามเมืองโปลก์ (Polck) ตอนเหนือของโปแลนด์เข้ามา พอวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เขาก็มาถึงวอร์ซ ออสเตรียถอนกำลังทหารลงไปทางใต้ไปยังเมืองกราโกว (Krakow) นโปเลียนได้จ้างทหารใหม่มา 130,000 นาย และเคลื่อนทัพไปยังแชคโซนี (Saxony) เพื่อต่อกรกับรัสเซียและยังเพื่อกำหราบกบฏในปรัสเซียด้วย ในขณะที่ในเยอรมัน นโปเลียนมีทหารอยู่ 180,000 นาย ทหารเหล่านั้นรบกับรัสเซียที่มีกำลัง 69,000 นาย กับปรัสเซียอีก 54,000 นาย จากวอร์ซอ คุตุซอฟ นำทัพไปทางตะวันตกของเยอรมัน ในเดือนมีนาคม กองทัพผสมระหว่างรัสเซียและปรัสเซียได้เดืนขบวนเข้าไปยังแชคโซนี และสามารถยีดเดรสเดน (Dresden) และ เลียปซิก (Leipzig) ไว้ได้ , แชคโซนี เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดจากปรัสเซียไปยังปารีส และในเดือนเมษายน มันกลายเป็นฉากรบระหว่างนโปเลียนและพันธมิตรรัสเซีย และปรัสเซีย จอมพล มิคาอิล คุตุซอฟ มีอาการป่วยหนัก และเขาเสียชีวิตไปก่อนที่จะได้เห็น ท่านเสียชีวิตในวันที่ 28 ตุลาคม  และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงแต่งตั้งให้นายพล เปียเตอร์ วิทเกนชเทียน (Pyotr Vitgenshtein) ควบคุมกองทัพแทน หลังความพ่ายแพ่อย่างต่อเนื่องของนโปเลียนในปรัสเซีย เขาต้องการทำสัญญาสงบศึก  สัญญาสงบศึกนี้เรียกว่าพอยชวิทซ์ ( Armistice of Poischwitz) ซึ่งนักประวัติศาสตร์กล่าวว่ามันเป็นความผิดผลาดของนโปเลียน สัญญานี้ทำให้พันธมิตรมีเวลาเสริมกองทัพที่แข็งแกร่งขึ้น และเมื่อสัญญาสงบศึกยุติลง กองทัพรัสเซียปละปรัสเซีย ได้มุ่งหน้าจากสิเลเซีย (Silezia) สู่ โบฮีเมีย (Bohemia) และไปร่วมกับกองทัพของออสเตรียและสวีเดน ซึ่งพันธมิตร สามารถมีชัยชนะที่ เดรสเดน (Dresden) กุล์ม (Kulm) เดนเนวิทซ์  (Dennevitz) และทำศึกครั้งใหญ่กับฝรั่งเศสที่เลียปซีก (Leipzig) เรียกว่าเป็น Battle of Nations ในเดือนตุลาคม 1813 ซึ่งจบลงโดยทหารนโปเลียนถูกไล่ออกจากเยอรมัน แนวหน้าของสงครามหันไปยังฝรั่งเศส  นโปเลียนเหลือกำลัง 70,000 นาย แต่ต้องสู้กับพันธมิตรที่มีกว่า 200,000 นาย  จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ด ต้องยอมจำนนในวันที่ 31 มีนาคม 1814 และในค่ำของวันนี้นทหารของรัสเซียและปรัสเซีย ก็เดินพาเหรดเข้าไปยังกรุงปารีส สองวันต่อมาสภาสูงของฝรั่งเศสก็พยายามที่จะถอดโบนาปาร์ตออกจากตำแหน่ง และฟื้นฟูราชวงศ์บัวบอง (Bourbons) 4 เมษายน นโปเลียน  ได้ตรากฤษฏีกาถอดตัวเองจากตำแหน่งจักรพรรดิ และตัวเขาเองถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba)  มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพฉบับใหม่ในพฤษภาคม 1814 ฝรั่งเศสยอมรับพรหมแดนเดิมก่อนปี 1792 และสัญญาจะมีการฟื้นราชวงศ์ขึ้นมาใหม่  ภารกิจของพันธมิตร อันดับ 6 จบลงสมบูรณ์

Don`t copy text!